Local Switching ความสามารถพิเศษของ Trapeze (Juniper Networks)

ถ้าพูดถึง Enterprise Wireless แบบมี Controller เป็นศูนย์กลาง ที่สามารถบริหารจัดการระบบต่างๆจากศูนย์กลางได้ คอยควบคุมดูแล AP (Access point) แต่ละตัว Wireless ยี่ห้ออื่นๆ จะมีสถาปัตยกรรมแบบ Centralized Architecture กล่าวคือ AP จะส่ง Traffic ไปวิ่งผ่านที่ Controller ตรงกลางก่อนทุกครั้ง เพื่อทำงานด้านความปลอดภัย ตรวจสอบ Traffic ฯลฯ ส่งผลให้เกิดปัญหาคอขวดที่ Controller (Bottle neck) ประสิทธิภาพการทำงานลดน้อยลง และยิ่งสมัยนี้เป็น Wireless N ที่มีปริมาณข้อมูลถึง 300 Mbps บน 1 คลื่นความถี่ ต่อ 1 AP ลองคิดดูว่าถ้ามี AP หลายๆตัว ส่ง Traffic มหาศาลไปที่ Controller พร้อมๆกันจะเกิดอะไรขึ้น

Trapeze มีความสามารถพิเศษที่เรียกว่า Local Switching ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบ Distributed Architecture โดย Trapeze จะเพิ่มความฉลาดให้แก่ AP ให้มีความสามารถมากขึ้น โดย AP แต่ละตัวสามารถทำ Switching ได้เอง ทำงานด้านความปลอดภัยในตัว ส่งผลให้ Traffic ไม่ต้องวิ่งผ่าน Controller ไม่เกิดปัญหาคอขวดแบบ Wireless ยี่ห้ออื่นๆ และทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน

สามารถสรุปไดอะแกรมการทำงานได้ดังรูปด้านล่าง

ติดตั้งระบบ Wireless ให้ออฟฟิศใหม่ง่ายๆ ภายในไม่กีนาที

เราไปดูคุณ Dan ติดตั้งระบบ Wireless ให้ออฟฟิศใหม่ของเค้ากัน

เริ่มต้นด้วยการทำ Site survey โดยนำ AP Meraki วางตำแหน่งต่างๆ เพื่อเช็คความแรงของสัญญาณ โดยสำรวจความแรงสัญญาณ Wireless ผ่าน Cloud Application ด้วย Meraki WiFi Stumbler และ WiFi Mapper ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ให้บริการฟรี ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมอะไรบนตัวเครื่อง ลองทดสอบได้ที่ https://tools.meraki.com/stumbler

เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการ ก็ติดตั้ง AP และต่อสายแลนให้เรียบร้อย แล้วตัว Meraki AP จะดาวน์โหลดค่าต่างๆ มาจาก Cloud Controller โดยอัตโนมัติ หน้าที่ของเราคือไปตั้งค่าระบบบน Cloud Controller ผ่านจากหน้าเว็บตามต้องการ อัพโหลด Floor Plan ขึ้นไปบนระบบ แล้วชี้ตำแหน่งของ AP เทียบกับ Floor Plan นั้น เสร็จแล้วครับ

และไม่เพียงแต่ติดตั้งง่ายเท่านั้น หากจะติดตั้งเพิ่มแบบ Mesh (AP ตัวที่นำมาต่อเพิ่มไม่ต่อสายแลน) ให้กระจายสัญญาณต่อเองอัตโนมัติ สำหรับกรณีพื้นที่เดินสายแลนไปไม่ถึง เจ้าตัว Meraki นี้ทำ Mesh ได้ง่ายมากที่สุด แค่เพียงเสียบสายไฟ และเพิ่ม Serial ของตัว AP เข้าไปในระบบบน Cloud อุปกรณ์ AP นี้จะทำ Mesh ให้อัตโนมัติ ผู้ใช้งานสามารถใช้งาน AP ตัวใหม่นี้ได้เลยทันที

เชิญทดสอบ Meraki Cloud Controller ได้ที่ https://meraki.com/tools/demo

โน๊ตบุ๊คของคุณพร้อมสำหรับ Wireless ที่เร็วที่สุดแล้วหรือยัง ?

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา Meraki เปิดตัว MR24 ซึ่งเป็น AP (Access point) แบบ 3×3 MIMO ที่ให้ความเร็วรวมได้สูงสุด 900 Mbit/s โดยแต่ละคลื่นความถี่ให้ความเร็วสูงสุดได้ถึง 450 Mbit/s ซึ่งอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับ AP แล้วได้ความเร็วสูงสุดขนาดนี้ ต้องเป็นอุปกรณ์ที่สามารถรองรับและจัดการ 3×3 MIMO ได้ และถึงแม้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณจะไม่รองรับ 3×3 MIMO แต่ก็สามารถได้ประโยชน์จาก AP แบบ 3×3 MIMO อยู่ดี กล่าวคือ AP จะกระจายสัญญาณ ช่วงความถี่ และปรับความเร็วสูงสุดที่เหมาะสมให้กับแต่ละอุปกรณ์ ทำให้รองรับการใช้งานพร้อมๆกัน ในความเร็วที่สูงกว่า AP แบบทั่วไปได้นั่นเอง

เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นไหนที่รองรับ 3×3 MIMO
เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ที่รองรับ WiFi ความเร็วสูงสุด 450 Mbit/s 802.11n มาจากชิปเซ็ตของ Atheros, Intel, หรือ Broadcom วันนี้เราจะนำเสนอตัวอย่างโน๊ตบุ๊คบางรุ่นที่รองรับ 3×3 MIMO ที่บางทีคุณอาจเป็นเจ้าของอยู่แล้วโดยไม่รู้ตัว

Apple
Apple เปิดตัว Macbook Pro รุ่นใหม่ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีทั้งแบบ 13″ , 15″ และ 17″ อย่างละ 2 รุ่น ความพิเศษของ Macbook Pro รุ่นใหม่นี้คือ ใช้ CPU Intel Sandy Bridge processors และมีระบบ I/O ความเร็วสูงอย่าง Thunderbolt I/O system นอกเหนือจากความเร็วสูงขนาดนี้แล้ว WiFi 802.11n ของ Macbook Pro ยังรองรับ 3×3 MIMO ด้วยชิปเซ็ต WiFi Broadcom BCM4331 ถ้าเราไปดูผลการทดสอบประสิทธิภาพจาก Anandtech และ iFixit จะเห็นได้ว่า Macbook Pro รุ่นใหม่นี้รองรับความเร็วสูงได้สุดถึง 450 Mbit/s เลยทีเดียวเชียว !

Dell
มีเครื่องโน๊ตบุ๊คของ Dell ในระดับ Enterprise หลายตัวที่รองรับ 3×3 MIMO ส่วนใหญ่จะอยู่ในรุ่น Latitude และรุ่น Precision ตัวอย่างเช่น Latitude E6400 XFR และ Latitude E4200 ที่ใช้ชิปเซ็ตของ Intel WiFi 5300 หรือ Precision M6500 และ M4500 ก็รองรับ 3×3 MIMO

HP
โน๊ตบุ๊ค HP ที่สามารถรองรับ Wireless ที่เร็วที่สุด เป็นรุ่นในระดับ Enterprise คือ EliteBook 8740w, EliteBook 8540w และ EliteBook 8440w ทั้งหมดนี้ใช้ชิปเซ็ต WiFi ของ Intel 6300 series

Lenovo
Lenovo ในรุ่น X201 และ W500 เป็นรุ่นที่รองรับ 3×3 MIMO ทั้งสองรุ่นนี้ใช้ชิปเซ็ต WiFi ของ Intel 6300 series เช่นกัน

เมื่อใดที่เครื่องโน๊ตบุ๊คของคุณเชื่อมต่อกับ AP MR24 ของ Meraki ถ้าโน๊ตบุ๊คของคุณรองรับ 3×3 MIMO แล้วละก็..
ผลลัพธ์ที่ได้คือ Wireless ที่เร็วที่สุดนั่นเอง !!

ที่มา : Meraki Blog

Forrester ยกย่อง ForeScout ให้เป็นโซลูชั่นส์ Network Access Control ที่ดีที่สุดในเวลานี้

หลังจากที่ ForeScout ได้รับรางวัลมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นรางวัล Bench Tested Product of the Year จาก Network Computing 2011 Awards, Global Excellence Awards จาก Info Security Products Guide, ได้รางวัล 5 ดาวจาก SC Magazine, ได้ติดอันดับใน Info World 100 และยังได้อยู่ในตำแหน่ง Visionaries ใน Gartner Magic Quadrant มาในครั้งนี้ Forrester ได้ประกาศให้ ForeScout เป็นโซลูชั่นส์ Network Access Control ที่ดีที่สุดจากการสำรวจ Forrester Wave โดยได้คะแนนสูงสุดทั้งในด้าน Strategy และ Current Offering ทิ้งห่างจาก Cisco อย่างชัดเจน Read more

ForeScout Positioned as a Leader in Network Access Control Industry by Independent Research Firm

Report Ranks ForeScout Top Rated Performer in Current Offering and Strategy Read more

Supermicro เปิดตัว MicroCloud และ Multi-GPU Server ที่ Computex Taipei 2011

ในงาน Computex Taipei 2011 ซูเปอร์ไมโคร (Supermicro) ผู้ผลิตเซิฟเวอร์ชั้นนำของโลก ได้นำ MicroCloud Server และ Multi-GPU Server ไปแสดง ซึ่งทั้งสองเซิฟเวอร์นี้ จะเป็นทิศทางถัดไปของตลาด Web Hosting, Cloud Service และ High Performance Computing อย่างแน่นอน Read more

Supermicro ส่ง 10GbE Switch ส่งเสริม 10GbE Server ใน Data Center

ซูเปอร์ไมโคร (Supermicro) ผู้ผลิตเซิฟเวอร์รายใหญ่สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ชั้นนำของโลก ได้เพิ่มไลน์ผลิต Data Center Switch โดยเปิดตัว Supermicro SSE-X24S 10GbE Switch โดยมีพอร์ต 10GbE จำนวน 24 พอร์ตสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์โดยเฉพาะ พร้อมส่ง Supermicro SSE-G24 และ SSE-G48 สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ที่ยังคงใช้เน็ตเวิร์คความเร็ว 1GbE อยู่  Read more

เจาะลึกเทคโนโลยี Storage Virtualization สำหรับ Cloud Application (ตอนที่ 1)

ในเวลานี้ คำว่า Cloud ได้กลายมาเป็นหนึ่งในคำมาตรฐานสำหรับวงการไอทีบ้านเราไปแล้ว วันนี้เราจะมาดูกันครับ ว่าคุณสมบัติของ Storage ที่เหมาะสมจะนำมาใช้ในระบบ Cloud Application ต่างๆ จะมีอะไรกันบ้าง

หัวใจของคำว่า Cloud

คำว่า Cloud หรือที่บางครั้งมักจะถูกเรียกเป็นภาษาไทยว่า กลุ่มเมฆ นั้น จริงๆ แล้วไม่ใช่คำที่เกิดมาจากทาง Technology แต่เกิดมาจากการตลาดเสียมากกว่า โดยในความหมายรวมๆ นั้น ไม่ว่าจะนำคำว่า Cloud ไปใช้กับอะไรก็ตาม มักจะหมายถึง ”การที่เทคโนโลยีนั้นๆ สามารถเพิ่มขยายได้แบบทันทีและง่ายดาย เพื่อรองรับต่อการปริมาณความต้องการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น” ยกตัวอย่างเช่น Cloud Application ก็จะหมายถึง “Application ที่สามารถขยายระบบเพื่อรองรับปริมาณผู้ใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น” ดังนั้นเราจึงสามารถกล่าวได้ว่า หัวใจของคำว่า Cloud ก็คือ “มีความสามารถในการขยายได้อย่างง่ายดาย” นั่นเอง

Storage สำหรับ Cloud Application

เมื่อเรารู้แล้วว่าหัวใจของคำว่า Cloud คืออะไร และ Cloud Application คืออะไร คราวนี้เรามาลองดูกันบ้าง ว่าในเทคโนโลยีทางด้านการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Storage หรือ Database ก็ตาม จะมีทางเลือกไหนที่สามารถตอบโจทย์ของคำว่า Cloud ได้บ้าง

1. Scale-Up and Scale-Out SAN Storage

สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ SAN Storage เป็นฐานสำหรับระบบงานของตัวเอง SAN Storage นั้นๆ ควรจะสนับสนุนการขยายพื้นที่และประสิทธิภาพได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสมกับค่าใช้จ่าย และความต้องการของระบบในเวลานั้นๆ โดยในการใช้งาน SAN Storage นั้น คีย์เวิร์ดหลักๆ ที่มักจะพบก็จะหนีไม่พ้นการขยายแบบ Scale Up และ Scale Out นั่นเอง

Scale Up: แนวคิดของการขยายแบบ Scale Up คือการขยายระบบ Storage เดิมที่มีอยู่ผ่าน Expansion Port ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Fibre Channel 4Gbps หรือ SAS2 6Gbps โดยวัตถุประสงค์หลักๆ คือการเพิ่มขยายพื้นที่เป็นหลัก ไม่ใช่การแก้ปัญหาเรื่องคอขวดของระบบ หรือปัญหาทงด้านประสิทธิภาพ ดังนั้นข้อดีของการขยายระบบ Storage แบบ Scale Up คือสามารถเพิ่มพื้นที่ของระบบได้ ในงบประมาณที่ไม่สูงนั่นเอง
Scale Out: แนวคิดของการขยายแบบ Scale Out คือการขยายระบบ Storage ในระดับ Logical โดยการเพิ่ม Storage Controller ให้ทำงานร่วมกันผ่าน SAN Networking ซึ่งจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปจากการขยายแบบ Scale Up คือการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ Storage นั่นเอง เนื่องจากการขยายระบบแบบ Scale Out นี้ จะทำให้ระบบ Storage ของเรามี Host Interface สำหรับเชื่อมต่อกับเครื่อง Server มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มขนาดของ Cache ในระบบให้มากขึ้นอีกด้วย แต่การขยายระบบแบบ Scale Out นี้จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพราะจริงๆ แล้วมันคือการลงทุนซื้อ Storage Hardware ใหม่หมดอีกชุดนั่นเอง

สำหรับข้อเสียของการใช้ SAN Storage สำหรับระบบงานแบบ Cloud ก็คือ SAN Storage ไม่สามารถ Share File ระหว่างหลายๆ Server เข้าด้วยกันได้ ซึ่งเราอาจจะต้องพึ่งพาความสามารถของ File System ต่างๆ ในการทำหน้าที่นี้ และทำให้การติดตั้งระบบมีความยุ่งยากมากขึ้น หรือต้องยึดติดกับบางแบรนด์มากขึ้นนั่นเอง

2. Parallel NAS Storage

สำหรับผู้ที่ต้องการความสามารถในการ Share File ระหว่างหลายๆ Server พร้อมๆ กัน ซึ่ง SAN Storage ไม่สามารถทำได้ ทางเลือกที่ดีสำหรับกรณีนี้คือการหนีมาใช้ NAS Storage นั่นเอง แต่ NAS Storage ทั่วๆ ไปที่เราใช้กันนั้น จริงๆ แล้วไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับระบบงานระดับ Cloud เลย เนื่องจาก NAS มักจะมีปัญหาทางด้านประสิทธิภาพ และเกิดคอขวดของระบบได้ง่ายมาก ดังนั้น Parallel NAS Storage จึงได้เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานี้ และตอบโจทย์ของ Cloud Application อย่างเต็มตัว

สิ่งที่ Parallel NAS Storage ทำนั้น มีแนวคิดคล้ายๆ กับการทำงานของ Bit Torrent คือให้ NAS Storage หลายๆ ชุด ช่วยกันส่งข้อมูลมาให้ผู้ใช้งานในลักษณะ Parallel เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด, ได้ปริมาณ Cache สูงสุด, ได้ Throughput สูงสุด และได้ Redundancy Level ที่สูงสุดนั่นเอง โดย Parallel NAS Storage นี้ มักจะถูกสร้างมาให้เป็น Object-based Storage ด้วย
ในการลงทุนกับ NAS ประเภทนี้ ในระยะเริ่มต้นอาจจะถือว่ามีราคาค่อนข้างสูง แต่เมื่อเทียบค่าใช้จ่ายและความง่ายในภาพรวม ตั้งแต่เรื่องการติดตั้ง การดูแลระบบ และความง่ายในการใช้งานแล้ว ถือว่าเป็น Storage ที่เหมาะสมกับ Cloud Application ที่ต้องการ Server หลักพันจนถึงหลักหมื่นเครื่องได้เลย

3. NoSQL

สำหรับเทคโนโลยี NoSQL ที่กำลังมาแรงมากในช่วงนี้ จริงๆ แล้วก็จัดได้ว่าน่าจะได้กลายเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานในการ Implement ระบบขนาดใหญ่ได้อย่างไม่ยากนัก โดย NoSQL เองเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาคอขวดของระบบ Database และมีความสามารถในการรองรับงานเฉพาะทางที่สูงกว่า SQL มาก โดยทั่วๆ ไปแล้ว NoSQL เกือบทุกตัวจะสามารถทำ Replication และการทำ Sharding ได้ เพื่อให้เราสามารถสร้างระบบฐานข้อมูลแบบ Distributed และรองรับการ Scale Out ในระดับของ Application ฐานข้อมูลได้อย่างไม่ยากเย็นนัก

ข้อดีของ NoSQL ก็คือเรื่องของประสิทธิภาพในการรับโหลดจากผู้ใช้งานจำนวนมากตั้งแต่หลายหมื่นไปจนถึงหลายล้านคนพร้อมๆ กัน ซึ่งบริการบน Cloud ใหญ่ๆ เกือบทั้งหมดที่เราใช้ก็มักจะเป็น NoSQL ทั้งสิ้น แต่ข้อเสียหลักๆ ก็คงเป็นเรื่องของการรับประกันและสนับสนุนเทคโนโลยีเหล่านี้ในบ้านเรานั่นเอง เนื่องจากยังไม่มีเจ้าไหนที่เข้ามาให้บริการในลักษณะ Commercial มากนัก และผู้ให้บริการ Cloud ใหญ่ๆ ก็มักจะพัฒนาระบบ NoSQL ของตัวเองขึ้นมาใช้กันเป็นส่วนมาก

จริงๆ แล้วถ้าพูดถึงเรื่องของคำว่า Cloud กับคำว่า Storage นั้น ยังมีอีกหลายแง่มุมให้เราพิจารณากันอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Cloud Storage, Cloud Tiering และอื่นๆ อีกมากมาย ก็คงต้องขอหยิบยกไว้พูดกันในคราวหน้า สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลากันไปก่อน สวัสดีครับ

5 เทรนด์ในอนาคตของ Next Generation Data Center

สวัสดีครับ สำหรับครั้งนี้เราจะมาดูเทรนด์ในอนาคตกันว่า Data Center ยุคถัดไป หรือที่เราเรียกกันว่า Next Generation Data Center นั้นจะเป็นอย่างไร ลองดูได้ใน 5 ข้อต่อไปนี้ครับ

1. ทุกอย่างมีขนาดเล็กลง!!!

ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เคยมีขนาดใหญ่ที่สุดอย่าง Core Switch ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 4U จนไปถึงขนาดใหญ่กว่า 20U จะสามารถมีขนาดลดลงมาเหลือ 1U – 2U ได้ในประสิทธิภาพระดับที่สูงกว่าเดิม หรือแม้กระทั่ง Server เองจากเดิมที่เคยต้องใช้ Blade Server ถึงเกือบ 10U เพื่อติดตั้ง Server 16 ชุด ในเวลานี้ขนาดได้ลดลงมาเหลือเพียง 3U แล้ว ซึ่งด้วยปริมาณเท่านี้จากเดิมที่เรามี Rack ขนาด 42U เราอาจจะสามารถมี Core Switch 2 ชุด ซึ่งเชื่อมต่อกับ Physical Server จำนวนกว่า 192 ชุดด้วยความเร็วระดับ 10Gbps – 20Gbps ได้ ซึ่งหลังจากทำ Virtualization แล้ว เราอาจจะมี Server ได้ถึงหลายร้อย หรือหลายพันเครื่องได้เลยทีเดียว! ดังนั้นใน Data Center ปัจจุบันที่มีกันอยู่นี้ อาจจะสามารถยุบรวมเหลือเพียง 1-2 Rack ก็เป็นได้

2. Redundant แบบ Virtual!!!

ไม่ใช่มีแต่ VMware หรือ Citrix เท่านั้น นับจากนี้ไป Core Switch เองก็เริ่มมีแนวทางในการทำ Redundant แบบระดับ Virtual แล้ว ทำให้เราสามารถวาง Core Switch แยกห่างออกจากกันในเชิง Physical และช่วยกันทำงานได้ รวมถึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโดยการเติม Core Switch เข้าไปในระบบได้อย่างง่ายๆ ทำให้ถัดจากนี้ไป การออกแบบ Core Switch อาจไม่ใช่การรวมศูนย์ แต่เป็นการกระจายตัว (Distributed Core Switch) ซึ่งอาจถึงขั้นนำ Core Switch ไปกระจายเป็น Top-of-Rack Switch แทน เพื่อลดความซับซ้อนในการ Wiring ลง และทำให้เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบได้ตามความต้องการ (On Demand Scalability) อีกทั้งยังทำให้สามารถใช้ความเร็วในระดับ 10/40/100Gbps ไปยัง Server หรือ Storage โดยตรงได้อีกด้วย!

3. Cloud ในระดับ Hardware!!!

ในเวลานี้เราคงจะได้ยินคำว่า Cloud มาคู่กับบริการต่างๆ มากมาย แต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งผู้ผลิต Server, Storage และ Switch ต่างนำเสนอระบบ Hardware ที่มีแนวคิดในการทำงานแบบ Cloud เพื่อรองรับ Data Center ในระดับองค์กร ไปจนถึงผู้ให้บริการ Cloud อีกด้วย โดยแนวคิดนี้จะทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถเติม Server, Storage และ Switch เข้าไปในระบบได้โดยไม่ต้องทำการตั้งค่าต่างๆ ให้ยุ่งยาก หรือใช้ Hardware ยี่ห้อเดียวกันอีกต่อไป อุปกรณ์เหล่านั้นจะทำการพูดคุยกับอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบ และลงทะเบียนตัวเองเข้าไปโดยอัตโนมัติ จากนั้นระบบจะทำการตั้งค่าตัวเองขึ้นมาทำงานร่วมกับระบบเดิมที่มีอยู่ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงมีการตั้งค่าในการทำ Redundant ให้โดยอัตโนมัติอีกด้วย ซึ่งกรณีนี้เคยมีการติดตั้งจริงกันมาแล้ว โดยสามารถเพิ่ม Cloud Switch หลายพันชุดเข้าไปใน Data Center เดิมได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น!!!

4. Switch ชุดเดียว ให้บริการได้หลายอย่าง!!!


ไม่ใช่แค่ Next Generation Firewall เท่านั้นที่ทำได้ทุกอย่างครอบจักรวาล สำหรับ Data Center เอง Switch จะกลายเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการต่างๆ แทนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการยืนยันตัวตนแบบ Single Sign-On ร่วมกับบริการ Cloud ต่างๆ, การเข้ารหัส, การปรับเปลี่ยน Network Policy แบบอัตโนมัติตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น, การติดตาม Application Performance และอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึงการที่ Switch ได้รวมเอาความสามารถในการทำตัวเป็น Ethernet Switch และ SAN Switch พร้อมๆ กัน ทำให้ต่อไปนี้การเลือกหาฮาร์ดแวร์มารองรับงานต่างๆ คงจะทำได้ครบสมบูรณ์ได้ด้วย Switch เพียงชุดเดียวก็เป็นได้

5. Standalone, Centralized, Physicalization ยังไม่ตาย

ถึงแม้สี่ข้อที่ผ่านมาจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ล้ำสมัย จนอาจจะคิดกันว่าเทคโนโลยีแบบเก่าคงจะถูกกลืนหายไปอย่างรวดเร็ว แต่ในความเป็นจริงแล้วบางระบบงานที่ต้องการประสิทธิภาพสูงๆ และไม่ต้องการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกับใครเลย เพื่อรับประกันคุณภาพของการให้บริการ หรือให้บริการผู้ใช้งานเพียงกลุ่มเล็กๆ ก็จะยังคงมีอยู่ต่อไปอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอุปกรณ์เฉพาะทางต่างๆ ที่ต้องการนำประสิทธิภาพระดับสูงสุดของ Hardware มาใช้ ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายที่สุดก็คือการเชื่อมต่อ Server กับ Storage แบบ Direct Attach Storage (DAS) นี่เอง และในหลายครั้ง การรวมกันของระบบง่ายๆ เหล่านี้ ก็อาจจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของ Cloud ได้เช่นกัน

Datacenter ระดับโลก เค้าใช้อุปกรณ์อะไรกัน ?

เคยสงสัยกันไหมครับว่า พวก Datacenter ระดับโลกเค้าใช้อุปกรณ์อะไร ใช้ Server, Storage และ Switch ยี่ห้อไหนกัน ?
วันนี้ทรูเวฟจะพาคุณผู้อ่านลัดเลาะไปดูตาม Datacenter ใหญ่ๆ โดยแยกตามอุปกรณ์ พร้อมแล้วตามไปดูกันเลยครับ

Supermicro

Supermicro เป็นผู้ผลิต Servers รายใหญ่จากประเทศอเมริกา ก่อตั้งมาได้ประมาณ 17 ปี ที่สำนักงานใหญ่มีโรงงานประมาณ 7 โรงงานตั้งอยูุ่ที่ Silicon Valley ชื่อของแบรนด์ Supermicro ในไทย อาจยังไม่คุ้นหูเท่าใดนัก แต่ผู้อ่านทราบหรือไม่ครับว่า เจ้า Server ยี่ห้อ Supermicro นี้ กินส่วนแบ่งการตลาดในประเทศอเมริกามากกว่า 60% ขายได้มากกว่ายี่ห้อดังๆ ทุกยี่ห้อรวมกัน โดยลูกค้าของ Supermicro มีอยู่ในหลายวงการ ตัวอย่างเช่น Search Engine Provider รายยักษ์ใหญ่ ก็ใช้ Supermicro กว่า 20,000 เครื่อง เป็นเครื่องหลักโดยวางไว้ที่ Core Datacenter ในการให้บริการกับผู้ใช้งานทั่วโลก หรือตาม Lab ดังๆ โรงงานใหญ่ๆ ก็ใช้ Supermicro กว่าหมื่นเครื่องเช่นเดียวกัน

จุดเด่นของ Supermicro
Supermicro ขึ้นชื่อในเรื่องของประสิทธิภาพการทำงานที่รวดเร็ว แข็งแกร่ง รองรับการทำงานหนักติดต่อกันได้อย่างสบาย ด้วยเทคโนโลยีเฉพาะตัว โดยเมื่อเร็วๆนี้ได้ส่ง Twin Servers รุกตลาด Next Generation Data Center สำหรับลูกค้ากลุ่ม ISP โดยมีคุณสมบัติพิเศษสามารถติดตั้ง Server แบบ Hot Swap ที่มีหน่วยประมวลผลจาก Intel หรือ AMD 2 ชุด, หน่วยความจำ 192GB พร้อมเชื่อมต่อ Storage ภายนอกได้ ทั้งหมด 4 Server ภายในพื้นที่เพียง 2U สนับสนุนระบบ Virtualization อย่างเต็มตัว และล่าสุด Supermicro เปิดตัวโซลูชั่นส์ใหม่ที่มีชื่อว่า “Micro Cloud SuperServers” เอาใจลูกค้ากลุ่ม Web Hosting และ SME โดยเฉพาะ ด้วยราคาที่จัดอยู่ในเกณฑ์ย่อมเยา และขนาดเครื่องเพียง 3U แต่สามารถใส่ Server ได้ถึง 8 Servers ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ภายในแบบ SATA3  ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ด้วยความเร็ว 6 Gbps ได้ 2 ชุดต่อ 1 Server

นอกเหนือจากเรื่องประสิทธิภาพที่แข็งแกร่ง, มี Reference Sites ระดับ Datacenter ใหญ่ๆของโลกแล้ว Supermicro มีบริการ Services ในระดับ 5×8, 7×24 และ Spare Part พร้อมให้บริการทั่วประเทศไทย

Force10

Switch Force10 เป็น Switch Backbone ให้กับ Datecenter ระดับโลกมากมาย อาทิเช่น สำนักวิจัย CERN ใช้ Switch Force10 10 GbE กว่าร้อยเครื่อง ให้บริการนักวิทยาศาตร์ใช้งานทำวิจัยกว่า 7,000 คน ส่งข้อมูลถึง 15 Petabytes/ปี หรือ Facebook ที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้ ก็ใช้ Switch Force10 เป็น Core switch รองรับผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 500 ล้านคน โดยทาง Facebook ได้กล่าวไว้ว่า “The Force10 gear is pretty much bullet proof …the boxes just run” ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า Switch Force10 แค่วางตั้งทิ้งไว้ ก็รองรับปริมาณการใช้งานมหาศาล และมีความเสถียรเป็นที่สุด

นอกจาก CERN และ Facebook แล้วยังมี Datacenter ระดับโลกอื่นๆที่เลือกใช้ Force10 เป็น Core Switch อีก เช่น Yahoo, Apple, Adobe, American Express, Bloomberg, Baidu, Youtube, NASA ฯลฯ

จุดเด่นของ Force10
ถ้าดูจาก Reference Sites ด้านบนแล้ว ถือเป็นการรับประกันคุณภาพและประสิทธิภาพของ Force10 ได้มากกว่าคำพูดใดๆ Force10 ขึ้นชื่อเรื่องของความนิ่ง ความเสถียร ทนทานต่อทุกสภาพการใช้งาน และรองรับ Throughput ปริมาณมหาศาล ตัวอย่างเช่น Force10 รุ่น S4810 มีพอร์ต 10 GbE SFP+ จำนวน 48 พอร์ต และมีพอร์ต 40 GbE QSFP+ อีก 4 พอร์ต รวมแล้วมี Switching Capacity สูงถึง 1,280 Gbps ในขนาดเพียง 1U เรียกได้ว่าเป็นรุ่นใหม่ที่ทำเอาวงการ Switch สั่นสะเทือน เนื่องจาก S4810 ทำงานเป็น Core Switch ได้สบายๆ ในขนาดแค่ 1U และเมื่อนำ Switch S4810 เพียง 2 ชุด ทำงานร่วมกันแบบ Redundant โดยใช้พื้นที่เพียง 2U ก็จะทำให้องค์กรของคุณผู้อ่านสนับสนุนระบบเครือข่ายความเร็ว 10 GbE และ 40 GbE ได้เป็นแห่งแรกๆ ของภูมิภาค และเป็นการวางรากฐานที่ดีสำหรับ Data Center ในอนาคต (ปัจจุบันของ S4810 ของเริ่มขาดตลาด ถ้าจะสั่งต้องรอนิดนึงนะครับ)

และล่าสุด Force10 พึ่งเปิดตัว Series Z9000 40GbE Core Switch ซึ่งเป็น Core Switch ขนาด 2U ติดตั้งพร้อมพอร์ต 40GbE QSFP+ จำนวน 32 พอร์ต หรือใช้งานเป็นพอร์ต 10GbE SFP+ ได้สูงถึง 128 พอร์ต โดยมี Switching Capacity สูงถึง 2.5 Tbps และรองรับทั้งการทำงานแบบ Layer 2 และ Layer 3 พร้อมคุณสมบัติ Plug-n-Play และ VMware Awareness เพื่อรองรับการทำหน้าที่เป็น Cloud Computing Cores และ High Performance Computing Cores สำหรับ 2,000 – 6,000 Physical Servers และ Storages

Infortrend

Infortrend ผู้ผลิต Storage รายใหญ่ของโลก ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1993 จนถึงปัจจุบันนี้ได้ติดตั้งอุปกรณ์ Storage ไปแล้วมากกว่า 3,000,000 ยูนิต โดยมีกลุ่มลูกค้าหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่ม Enterprise, Education, Broadcast & Video Streaming ลูกค้ารายใหญ่ๆ เช่น BBC, Walt Disney, MTV, Warners Brother เป็นต้น ในประเทศไทย Storage Infortrend ก็อยู่เบื้องหลังงานถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ผ่านมา รวมถึงตามมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศก็ใช้ Storage จาก Infortrend

จุดเด่นของ Infortrend
สำหรับ Datacenter ขนาดใหญ่จะใช้ Storage แบบ Virtulization คือสามารถขยายระบบได้มากๆ และรองรับการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น ตัวอย่างเช่น Infortrend ESVA F60 Fibre Channel Storage หรือ Enterprise Scalable Virtualized Architecture Storage รุ่นล่าสุดจาก Infortrend มีสมรรถนะสูงด้วย Throughput กว่า 180,488.53 IOPS อีกทั้งยังมีความสามารถในการขยายต่อระบบทั้งแบบ Scale Up ร่วมกับ JBOD และ Scale Out เพื่อเพิ่มทั้งประสิทธิภาพด้วยการทำ Load Balancing และเพิ่มพื้นที่ของข้อมูลไปพร้อมๆ กัน โดย Infortrend ESVA F60 รองรับทั้งการทำงานร่วมกับ Hard Drive แบบ SAS, SATA และ Solid State Drive ได้สูงสุดถึง 1,344 Drives ในระบบเดียว โดยมี Host Interface ความเร็ว 8Gbps ด้วยกันถึง 8 Ports เปรียบเหมือนแถม San Switch มาให้ในตัว

Infortrend ยังคงเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้าน Storage อย่างต่อเนื่องโดย Infortrend เป็นเจ้าแรกในตลาดในการใช้ Drive Connectivity แบบ SAS2 และใช้ 8Gbps Fibre Channel เป็นเจ้าแรกในตลาด รวมถึงประกาศสนับสนุน 3TB Enterprise Hard Drives ใน Enterprise SAN Storage เป็นเจ้าแรกอีกด้วย

Supermicro เปิดตัวโซลูชั่นส์ MicroCloud SuperServers ใหม่ สำหรับ Web Hosting และ SME โดยเฉพาะ

หลังจากที่ซูเปอร์ไมโคร (Supermicro) ผู้ผลิตระบบเซิฟเวอร์สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ชั้นนำของโลก ได้ส่งTwin Servers รุกตลาด Next Generation Data Center ไปแล้ว มาวันนี้ Supermicro เปิดตัวโซลูชั่นส์ใหม่ที่มีชื่อว่า “MicroCloud SuperServers” เอาใจลูกค้ากลุ่ม Web Hosting และ SME โดยเฉพาะ ด้วยราคาที่จัดอยู่ในเกณฑ์ย่อมเยา และขนาดเครื่องเพียง 3U แต่สามารถใส่ Server ได้ถึง 8 Servers ทำให้ช่วยประหยัดพื้นที่วาง Rack ไปถึง 5U เลยทีเดียว

MicroCloud SuperServers 5037MC-H8TRF – 8x Modular UP Nodes in 3U
ตัวเครื่องมีขนาด 3U ใส่ Server ได้ 8 Servers โดยเป็น Server แบบ Hot-pluggable Server ทั้งหมด แต่ละโหนดทำงานเป็นอิสระต่อกัน Server แต่ละตัว ติดตั้ง CPU แบบ Uniprocessor รุ่น Intel Xeon E3 Series และใส่ Memory ชนิด DDR3 1333 MHz ได้สูงสุด 32 GB รวม Memory ทั้ง MicroCloud ได้ถึง 256 GB มีอินเตอร์เฟสแบบ PCI-E 2.0 จำนวน 8 ช่อง ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ภายในขนาด 3.5″ แบบ SATA3 ได้ 2 ชุดต่อ 1 Server รวมทั้ง MicroCloud ได้ 16 ชุด ซึ่ง SATA3 นี้จัดว่าเป็นเทคโนโลยีฮาร์ดดิสก์ใหม่ล่าสุด ด้วยความเร็ว 6 Gbps

หากนำ MicroCloud SuperServers เปรียบเทียบกับ Blade Server จะพบว่า MicroCloud SuperServers เป็นทางเลือกใหม่สำหรับลูกค้ากลุ่ม Web Hosting และ SME (Blue Ocean Strategy) เพราะ MicroCloud SuperServers สามารถรองรับการใช้งานขององค์กร SME, ทำงานเป็น Web Hosting ได้ครบถ้วน ประหยัดค่าใช้จ่ายไปมาก เมื่อเทียบกับ Blade ที่ต้องมีขนาดอย่างน้อย 7U และยังมีค่าใช้จ่ายสำหรับ Power Supply, Switch Module, Management Module ต่างหากอีก

MicroCloud SuperServers ออกมาเพื่อเติมเต็มความต้องการของตลาด ในขณะที่โลกไปในทิศทางของ Virtualization แต่ MicroCloud SuperServers เน้นด้าน Physicalization เหมาะสำหรับทำเป็น Data Center ขนาดเล็ก สำหรับกลุ่ม SME และงานด้าน Web Hosting นอกจากนี้ยังสนับสนุนเรื่องการ ประหยัดพลังงาน ช่วยลดโลกร้อน (Green Data Center) จาก 80% Plus, 94% Platinum Level Efficiency หรือเรื่องการประหยัดพลังงานและพื้นที่ ที่สามารถรวมเอา 8 Servers มาอยู่ด้วยกันในพื้นที่ขนาดเพียง 3U และด้วยราคาที่คุ้มค่าในประสิทธิภาพที่ครบครัน (Best in Price Performance) ทำให้ MicroCloud SuperServers เป็นอีกหนึ่งโซลูชั่นส์ที่น่าจับตามองเลยทีเดียว

ในอนาคตทาง Super Micro มีแผนเพิ่มรุ่น MicroCloud SuperServers ให้รองรับ 16 Servers ในพื้นที่ขนาดเพียง 3U อีกด้วย