Ogren Group วิเคราะห์ตลาด Network Access Control (NAC) จะเติบโตปีละ 22% และมีมูลค่าถึง 1 พันล้านเหรียญภายในปี 2017

ผลการสำรวจจาก Ogren Group ได้ระบุในรายงานเกี่ยวกับการเติบโตของตลาด Network Access Control ว่าจะเติบโตมากถึงปีละ 22% และมีโอกาสที่จะทำได้รายมากกว่าปีละ 1 พันล้านเหรียญในปี 2017 รวมถึงหลังจากนั้น โดย ForeScout Technologies ผู้นำทางด้านระบบ Real-time Network Security ซึ่งมีฐานลูกค้ามากมายใน Fortune 1000 และบริษัทต่างๆ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ได้ถูกกล่าวถึงในบทวิเคราะห์ของ Ogren ว่าเป็นหนึ่งในสามผู้นำหลักคู่กับ Cisco และ Juniper ที่จะได้รับส่วนแบ่งตลาดรวมกันมาถึง 70% จากปัจจุบันนี้ที่บริษัท ForeScout ได้เติบโตมากกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด โดยในปีล่าสุดนี้ ForeScout ได้เติบโตมากถึง 66% และมีฐานลูกค้าอยู่มากถึง 1,400 รายทั่วโลก

 

รายงานของ Ogren ยังได้กล่าวถึงปัจจัยหลายประการที่ส่งผลให้ตลาดเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี NAC โดยตรง ดังนี้

  • ความจำเป็นในการสอบทวนการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายไปถึงระดับของอุปกรณ์พกพาและ Tablet อันสืบเนื่องมาจากแนวโน้มของการทำ Bring Your Own Device (BYOD) และ Choose Your Own Device (CYOD)
  • ความสามารถอันน่าตื่นตะลึงของอุปกรณ์ Tablet และ Mobile Device ที่อาจส่งผลต่อเครือข่ายและความปลอดภัย
  • ความจำเป็นที่จะต้องสามารถตรวจสอบเครือข่ายได้แบบ Real-time ซึ่งมองเห็นทุกอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ามาภายในเครือข่าย รวมถึงบังคับใช้นโยบายรักษาความปลอดภัยไปยังอุปกรณ์เหล่านั้นทั้งหมด
  • ผู้บริหารทางด้านระบบสารสนเทศเริ่มตระหนักถึงการเกิดเหตุการณ์ทางด้านความปลอดภัยเครือข่ายที่ยังไม่สามารถตรวจจับได้พบ และเริ่มได้รับความสำคัญระดับต้นๆ ในการจัดการความเสี่ยง (Risk Management)
  • การเชื่อมต่อแบบไร้สายที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง
  • การบังคับตรวจสอบตามกฎหมาย เช่น PCI-DSS, ISO 27001, HIPAA และ COBIT
  • การเติบโตของอุปกรณ์ที่รองรับ 802.1X เพื่อทำการยืนยันตัวตนและควบคุมในระดับ Port-level

 

จากผลการสำรวจข้อมูลจากหลายองค์กร ในรายงานยังระบุอีกด้วยว่า “ForeScout ถูกจัดให้เป็นผู้ผลิตระบบ Network Access Control ที่ใหญ่ที่สุด และจะส่งผลกระทบต่อตลาดมากที่สุด เนื่องจาก ForeScout CounterACT นั้นมีความสามารถรอบด้าน อีกทั้งยังสามารถติดตั้งและบริหารจัดการได้ง่าย ทาง Ogren Group ขอแสดงความยินดีกับ ForeScout  สำหรับนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาในตลาด NAC นี้” และเพื่อเป็นการเน้นย้ำให้ตรงจุด ทางผู้วิเคราะห์ยังได้ชี้ถึงจำนวนของลูกค้าของ ForeScout ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก, ความสามารถในการเพิ่มขยายเพื่อรองรับความต้องการขององค์กรขนาดใหญ่ รวมถึงความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี, ความกว้างขวาง และ Channel Programs ที่เป็นสาเหตุของความสำเร็จในตลาด NAC

 

“BYOD, Cloud และ Mobile กำลังผลักดัน ForeScout และผู้ผลิต NAC ไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังขยายบทบาททางด้านการรักษาความปลอดภัยของ NAC  อีกด้วย” Gord Boyce ผู้เป็น CEO ของ ForeScout กล่าว “เมื่อระบบรักษาความปลอดภัยเดิมที่มีอยู่ไม่ปลอดภัยอีกต่อไป และองค์กรพยายามที่จะยกระดับการรักษาความปลอดภัยเครอืข่าย  เทคโนโลยี NAC จะเป็นทางออกเดียวที่ช่วยให้สามารถตรวจสอบและควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ที่เข้ามาเชื่อมต่อและใช้งานเครือข่ายและข้อมูลขององค์กร ความต้องการจากตลาดเหล่านี้จะเป็นแรงผลักให้ ForeScout เติบโตไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง”

 

สำหรับใครที่ต้องการอ่านรายงานฉบับเต็ม สามารถอ่านได้ที่ https://blog.forescout.com/nac-ogren-report รวมถึงสามารถปรึกษาทีมงาน Throughwave และทดสอบอุปกรณ์ได้ทันที

 

ที่มา: www.throughwave.co.th

Supermicro เปิดตัว Virtual Desktop Solution ร่วมกับ NVIDIA GRID เสริมพลังงานประมวลผลกราฟฟิคสำหรับ Thin Client

Supermicro ผู้ผลิตระบบ Server ชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศเปิดตัว Virtual Desktop Infrastructure Solution (VDI) แบบใหม่ร่วมกับ NVIDIA GRID ที่สามารถนำการ์ดประมวลผลกราฟฟิคหรือ GPU เข้ามาช่วยประมวลผลได้ ทำให้การใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีการคำนวนกราฟฟิคบนระบบ Virtual Desktop เป็นไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น ตอบโจทย์ต่อความต้องการขององค์กรได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น

การเปิดตัวเทคโนโลยี NVIDIA GRID ร่วมกับ Supermicro ครั้งนี้เกิดขึ้นในงาน  “2013 NVIDIA GPU Technology Conference (GTC 2013)” ซึ่งจัดขึ้นที่ San Jose, California โดย NVIDIA ได้เปิดตัวการ์ด NVIDIA GRID K1 และ K2 ซึ่งเป็นการ์ดจอที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการทำ Virtualization เพื่อรองรับความต้องการในการประมวลผลทางด้านภาพบนระบบ VDI อย่างมีประสิทธิภาพสูง เช่น งานออกแบบทางด้านวิศวกรรม, งานออกแบบกราฟฟิคส์ และงานตัดต่อ ทำให้องค์กรต่างๆ สามารถนำระบบ VDI ไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น และลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวลง

 

ในขณะที่ระบบตัวอย่างที่มีการนำเสนอในงานนั้น สามารถรองรับผู้ใช้งาน Virtual Desktop ที่ใช้งานกราฟฟิคเป็นหลักได้ 600 เครื่องต่อเซิฟเวอร์ขนาด 42U ทาง Supermicro ได้กล่าวว่าระบบของ Supermicro ร่วมกับ NVIDIA GRID จะสามารถรองรับผู้ใช้งานที่เน้นงานกราฟฟิคได้มากถึง 1,800 เครื่องต่อเซิฟเวอร์ขนาด 42U ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานซอฟต์แวร์ประมวลผลกราฟฟิคต่างๆ ผ่านทาง Thin Client ได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น และองค์กรเองก็สามารถบริหารจัดการเครื่องลูกข่ายเสมือนเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น และลดต้นทุนได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

 

นอกจากนี้ ระบบ Cloud แบบใหม่สำหรับการเล่นเกมโดยเฉพาะ หรือ Cloud Gaming ที่กำลังจะมาในอนาคตนี้ ก็จะมีเทคโนโลยีเดียวกันนี้เป็นพื้นฐานเช่นเดียวกัน ซึ่ง Supermicro ก็ได้กล่าวถึงความพร้อมในการผลิตเซิฟเวอร์สำหรับระบบ Cloud Gaming นี้อีกด้วย

 

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ที่ https://www.supermicro.com

 

———–

 

ที่มา https://www.throughwave.co.th