Posts

การมาของ 3D Virtual Studio กับหลักสูตรนิเทศศาสตร์ที่ต้องปรับตัวกับเทคโนโลยีใหม่ในการถ่ายทำ

เทคโนโลยี 3D Virtual Studio ได้กลายเป็นเทคโนโลยีหลักที่ผู้ผลิตรายการเลือกใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เนื่องจากเทคโนโลยี 3D Virtual Studio สามารถช่วยสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการผลิตรายการได้อย่างมากมาย, ช่วยลดต้นทุนการผลิตรายการและการเปลี่ยนฉากลง และเริ่มมีราคาที่องค์กรสามารถลงทุนได้ง่ายขึ้นกว่าเมื่อก่อนด้วยต้นทุนที่่ปรับลดราคาลงมา โดย 3D Virtual Studio เพียงชุดเดียวก็สามารถรองรับการผลิตรายการได้ตั้งแต่ 5 – 10 รายการต่อวันจากห้องส่งเพียงห้องเดียว

Radical Angle หนึ่งในผู้ผลิต 3D Virtual Studio ที่ทำตลาดในประเทศไทย ได้ให้ความเห็นว่าภาคการศึกษาในประเทศไทยควรเริ่มถ่ายทอดความรู้และการใช้เทคโนโลยี 3D Virtual Studio นี้ให้แก่นิสิตและนักศึกษา เพื่อให้เกิดความเข้าใจและคุ้นเคยกับการนำเทคโนโลยี 3D Virtual Studio มาใช้ในการถ่ายทำรายการ และปรับตัวให้เข้ากับการถ่ายทำรายการด้วยเทคนิคใหม่ๆ ได้ โดยตัวอย่างของตำแหน่งงานต่างๆ ในห้องถ่ายทำรายการที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับ 3D Virtual Studio มีดังนี้

Program Director
ผู้วางผังรายการจะต้องเข้าใจในลักษณะการใช้งาน 3D Virtual Studio เพื่อจัดเตรียมทีมงานให้เหมาะสมกับแต่ละรายการที่มีการใช้งาน 3D Virtual Studio ในการถ่ายทำ และวางผังในการเข้าทำงานของแต่ละรายการได้อยางเหมาะสม

Producer
ผู้ผลิตรายการควรจะเคยมีประสบการณ์หรือมีความคุ้นเคยกับการจัดรายการด้วยเทคโนโลยี 3D Virtual Studio เพื่่อให้การนำเสนอรายการ, การควบคุมดูแลการถ่ายทำและค่าใช้จ่ายทั้งหมด และเข้าใจในขอบเขตการใช้งาน และขีดจำกัดของเทคโนโลยี 3D Virtual Studio เป็นอย่างดี

Script Writer
ความคุ้นเคยในเทคโนโลยี 3D Virtual Studio เป็นสิ่งสำคัญในการเขียน Script รายการให้เหมาะสมกับความสามารถในการนำเสนอข้อมูลที่่หลากหลายจากการใช้ข้อมูล 3D เข้ามาช่วย รวมถึงการลำดับเรื่องราวและการนำเสนอด้วยเช่นกัน

b01

News Reporter
สำหรับผู้ประกาศข่าว การซักซ้อมให้การประกาศข่าวหรือดำเนินรายการภายในห้อง 3D Virtual Studio ที่จะต้องมีการจินตนาการภาพของห้องให้คุ้นเคย เพื่อให้การออกท่าทางต่างๆ เป็นไปได้อย่างถูกต้องทั้งตำแหน่ง ทิศทาง และเวลา ถือเป็นประเด็นที่สำคัญมาก เพราะการใช้งาน 3D Virtual Studio นี้จะมีความแตกต่างจากการดำเเนินรายการตามปกติที่มีอุปกรณ์ต่างๆ วางอยู่จริง และสามารถนำเสนอสิ่่งต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นการซักซ้อมของผู้ประกาศข่าวเพื่อให้การดำเนินรายการเป็นไปได้อย่างสมจริงที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ 3D Virtual Studio

จะเห็นได้ว่า ความรู้ความเข้าใจ และความคุ้นเคยในการใช้งาน 3D Virtual Studio นั้นเป็นประเด็นหลักที่ทุกคนควรจะต้องเข้าใจ เพื่อให้การใช้งานเทคโนโลยี 3D Virtual Studio เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในขณะเดียวกัน กลุ่มงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรายการก็จะได้รับผลกระทบและต้องปรับตัวด้วยเช่นกัน ดังต่อไปนี้

  • กลุ่มงานโฆษณา – การสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ ในการโฆษณาระหว่างการดำเนินรายการด้วยเทคโนโลยี 3D เช่น การใช้แบบจำลองของสินค้าเป็นอุปกรณ์ประกอบฉาก การสร้างจุดดึงดูดสายตาในรายการเพื่อนำไปสู่การนำเสนอสินค้าระหว่างการดำเนินรายการ หรือแม้แต่การสร้างฉาก 3D เพื่อเป็นการโฆษณาสินค้าเลยก็ตามแต่
  • กลุ่มงานผลิตรายการ – การสร้างสรรค์ลูกเล่นใหม่ๆ ในการนำเสนอข้อมูล เช่น การแสดงกราฟ, การสร้างจอเสมือนขนาดใหญ่, การแสดงข้อมูลแผนที่่แบบ Interactive, การนำเสนอ 3D Object เสมือน และอื่นๆ
  • กลุ่มงานข่าว – การสร้างฉาก 3D เฉพาะสำหรับการนำเสนอข่าวสำคัญ หรือการออกแบบแผนภูมิหรือแผนภาพพิเศษเพื่อนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจได้ง่ายในเวลาที่จำกัด ถือเป็นความท้าทายในการนำเสนอข่าวด้วย 3D Virtual Studio ที่จะทำให้รายการข่าวเหนือกว่าคู่แข่ง
  • กลุ่มงานสื่อใหม่ – สำหรับผู้ที่สร้างสรรค์งาน 3D เช่น 3D Animator หรือ 3D Graphic Designer โจทย์ใหม่ในการสร้าง 3D Object ให้ตอบสนองต่อความต้องการในการนำเสนอข่าวอย่างทันท่วงที ก็ถือเป็นความท้าทายใหม่ๆ ที่น่าสนใจ

สำหรับผู้ที่สนใจเทคโนโลยี 3D Virtual Studio หรือสถาบันการศึกษาที่ต้องการนำระบบ 3D Virtual Studio ไปใช้ในการเรียนการสอน สามารถติดต่อบริษัททรูเวฟ ประเทศไทย ได้ที่เบอร์ 02-210-0969 หรืออีเมลล์ info@throughwave.co.th ได้ทันที