Posts

Supermicro เปิดตัว Virtual Desktop Solution ร่วมกับ NVIDIA GRID เสริมพลังงานประมวลผลกราฟฟิคสำหรับ Thin Client

Supermicro ผู้ผลิตระบบ Server ชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศเปิดตัว Virtual Desktop Infrastructure Solution (VDI) แบบใหม่ร่วมกับ NVIDIA GRID ที่สามารถนำการ์ดประมวลผลกราฟฟิคหรือ GPU เข้ามาช่วยประมวลผลได้ ทำให้การใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีการคำนวนกราฟฟิคบนระบบ Virtual Desktop เป็นไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น ตอบโจทย์ต่อความต้องการขององค์กรได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น

การเปิดตัวเทคโนโลยี NVIDIA GRID ร่วมกับ Supermicro ครั้งนี้เกิดขึ้นในงาน  “2013 NVIDIA GPU Technology Conference (GTC 2013)” ซึ่งจัดขึ้นที่ San Jose, California โดย NVIDIA ได้เปิดตัวการ์ด NVIDIA GRID K1 และ K2 ซึ่งเป็นการ์ดจอที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการทำ Virtualization เพื่อรองรับความต้องการในการประมวลผลทางด้านภาพบนระบบ VDI อย่างมีประสิทธิภาพสูง เช่น งานออกแบบทางด้านวิศวกรรม, งานออกแบบกราฟฟิคส์ และงานตัดต่อ ทำให้องค์กรต่างๆ สามารถนำระบบ VDI ไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น และลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวลง

 

ในขณะที่ระบบตัวอย่างที่มีการนำเสนอในงานนั้น สามารถรองรับผู้ใช้งาน Virtual Desktop ที่ใช้งานกราฟฟิคเป็นหลักได้ 600 เครื่องต่อเซิฟเวอร์ขนาด 42U ทาง Supermicro ได้กล่าวว่าระบบของ Supermicro ร่วมกับ NVIDIA GRID จะสามารถรองรับผู้ใช้งานที่เน้นงานกราฟฟิคได้มากถึง 1,800 เครื่องต่อเซิฟเวอร์ขนาด 42U ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานซอฟต์แวร์ประมวลผลกราฟฟิคต่างๆ ผ่านทาง Thin Client ได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น และองค์กรเองก็สามารถบริหารจัดการเครื่องลูกข่ายเสมือนเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น และลดต้นทุนได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

 

นอกจากนี้ ระบบ Cloud แบบใหม่สำหรับการเล่นเกมโดยเฉพาะ หรือ Cloud Gaming ที่กำลังจะมาในอนาคตนี้ ก็จะมีเทคโนโลยีเดียวกันนี้เป็นพื้นฐานเช่นเดียวกัน ซึ่ง Supermicro ก็ได้กล่าวถึงความพร้อมในการผลิตเซิฟเวอร์สำหรับระบบ Cloud Gaming นี้อีกด้วย

 

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ที่ https://www.supermicro.com

 

———–

 

ที่มา https://www.throughwave.co.th

Infortrend เปิดตัว EonStor DS G7 Storage ที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูงถึง 700,000 IOPs

Infortrend Technology บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้าน Storage System เปิดตัว EonStor DS G7 ซึ่งเป็น Storage รุ่นใหม่ล่าสุด เพื่อรองรับการใช้งานด้านข้อมูลที่มากขึ้นขององค์กร โดยตัว EonStor DS G7 นี้มีประสิทธิภาพ (Throughput) การอ่านข้อมูลสูงสุด 5,500 MB/s เขียนข้อมูลได้สูงสุด 3,000 MB/s ส่งผลให้รองรับการอ่านข้อมูลสูงสุดถึง 700K IOPS ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็น Storage รุ่นที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของตลาดในเวลานี้

คุณสมบัติเด่นของ EonStor DS G7

  • มีประสิทธิภาพการทำงานสูง (Throughput และ IOPS สูงถึง 700,000 IOPs)
  • รองรับการใช้งานหนักๆ เช่น ในวงการตัดต่อ/ถ่ายทอด วิดีโอ HD, Cloud Services, HPC
  • เพิ่มประสิทธิภาพการสำรองข้อมูล และร่นระยะเวลาที่ใช้ในการสำรองข้อมูล
  • รองรับการขยาย Disk สูงสุดได้ 240 ลูก
  • มีความคุ้มค่ามาก เมื่อคิดเทียบขนาดพื้นที่ใช้งาน เทียบกับราคา

3 รุ่นเด่นของ EonStor DS G7

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.infortrend.com/Event2011/2011_Global/201112_ESDS_G7/ESDS_G7.html

ESG Lab วิจารณ์ Nutanix: ผู้นำของ Virtualization Hardware ยุคใหม่

Enterprise Strategy Group หรือที่รู้จักกันดีในนามของ ESG Lab หนึ่งในค่ายวิพากษ์วิจารณ์ผู้ผลิตระบบ IT ด้านต่างๆ ที่จัดได้ว่าเป็นกลางที่สุด และเจาะลึกทางด้านเทคโนโลยีที่สุดเจ้าหนึ่ง ได้นำ Hardware จาก Nutanix ไปทดสอบการใช้งานจริงเมื่อเดือนสิงหาคม 2011 ที่ผ่านมา และได้เผยแพร่รายงานชิ้นนี้อย่างเปิดเผยที่เว็บไซต์ของ Nutanix ซึ่งผลการวิจารณ์นั้นค่อนข้างน่าสนใจมาก เนื่องจาก Nutanix เองก็ถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิก Hardware ในยุคใหม่ ที่ยุบรวมการทำงานของ Server และ Storage เข้าไว้ด้วยกันแบบเดียวกับที่ Google, Amazon หรือ Facebook ใช้กัน เพื่อมารองรับการทำ Virtualization สำหรับองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะ มาลองดูกันครับว่า Nutanix จะถูกวิจารณ์อย่างไรบ้าง

รู้จัก ESG Lab กันก่อน

ESG Lab นั้นจะทำการนำอุปกรณ์ IT จากผู้ผลิตรายต่างๆ ทางด้าน Storage, Data Management และ Information Security มาทำการทดสอบ และเขียนรายงานอย่างเป็นกลาง เพื่อให้ผู้ดูแลระบบได้ทำการศึกษาประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกทดสอบอุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอุปกรณ์ที่มีแนวคิดแปลกใหม่ ซึ่งนอกเหนือจากจะเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ดูแลระบบแล้ว ESG Lab ยังให้คำแนะนำกับผู้ผลิตรายต่างๆ ถึงการแข่งขันในตลาด, ฟีเจอร์ที่แนะนำให้ผู้ผลิตทำเพื่อตอบโจทย์ของตลาด รวมถึงยังให้ข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ใช้งาน และผู้ทำการทดสอบ ส่งผลให้ผู้ผลิตรายต่างๆ สามารถนำข้อติติงต่างๆ เหล่านี้ไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตนเองได้อีกด้วย

เมื่อรู้จักกันคร่าวๆ แล้วว่า ESG เป็นใคร เรามาลองดูผลการทดสอบกันต่อเลยครับ

ความท้าทายของ Server Virtualization

ESG Lab ได้เคยทำการสำรวจมาก่อนแล้วตั้งแต่ปี 2010 ถึงความท้าทายในการทำ Server Virtualization โดยทำการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง ว่าต้องการให้ผู้ผลิตแต่ละรายทำการพัฒนาเทคโนโลยีด้านไหนที่สุด ให้ตอบโจทย์กับความต้องการของการใช้งานและแก้ไขปัญหาของ Virtualization ที่มีอยู่

คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

ผลลัพธ์อันดับหนึ่งที่ได้นั้นคือประเด็นของ “การ Integrate ที่ดีขึ้นระหว่าง Server, Storage, Networking และ Virtualization Technology” ซึ่งที่ผ่านมานั้นการทำงานร่วมกันระหว่าง Server, Storage และ Networking ยังมีข้อจำกัดอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมระหว่าง Server และ Storage อย่างการใช้ Fibre Channel, iSCSI หรือ NAS ซึ่งต่างก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป รวมถึงการวางระบบเครือข่ายให้รองรับกับทั้ง Data และ Storage Networking อีกด้วย ทำให้ในการลงทุน Virtualization นั้นเรียกได้ว่าแทบจะต้องโละ Data Center เดิมที่มีอยู่ทิ้งไปเลย ตั้งแต่ส่วนของ Switch, Server และ Storage โดยค่าลิขสิทธิ์ของ Virtualization เจ้าดังๆ เองก็ถือว่าค่อนข้างสูงอยู่แล้ว

นอกจากปัญหาทางด้านการลงทุนตั้งต้นแล้ว Virtualization ยังนำมาซึ่งความยุ่งยากในการบริหารจัดการ ทำให้ในผลสำรวจของเทคโนโลยีที่ต้องการลำดับที่สองคือ “เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการ Server ให้ดีขึ้น” และลำดับที่สามคือ “มีการฝึกสอนที่มากขึ้น” เนื่องจากการทำ Virtualization ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ใหม่มาก และผู้ดูแลระบบจะต้องทิ้งภาพเก่าๆ ไปค่อนข้างมากในการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่นี้ “ความง่าย” จึงถือเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง

ถัดจากนั้นคือ “รองรับ Virtual Server ได้มากขึ้นต่อ Physical Server”, “มีการทำ Backup และ Recovery ที่ดีขึ้น” รวมถึง “มีการบริหารจัดการการทำงานในแต่ละองค์ประกอบร่วมกันมากขึ้น” ซึ่งแน่นอนว่าทุกข้อที่กล่าวถึงมานี้ Nutanix ได้จัดการพัฒนาและควบรวมเอาไว้ใน Complete Cluster Appliance เพียงระบบเดียวเล้ว

โซลูชั่นของ Nutanix

Nutanix ได้รวมเอา Server, Hypervisor และ Storage เข้ามาไว้ด้วยกันเป็นระบบ Scale-out Computing Platform ภายใต้ชื่อของ Nutanix Complete Box ที่มีขนาดเพียงแค่ 2U โดยในพื้นที่ 2U นั้น Nutanix ได้รวม Physical Server จำนวนถึง 4 Nodes เข้ามาไว้ด้วยกัน และจัดเก็บ Virtual Machine และ Hypervisor ไว้บนแต่ละ Node

หัวใจสำคัญที่ทำให้ Nutanix สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ คือ Nutanix Controller ที่อยู่บน Nutanix แต่ละ Node ที่ทำให้ Local Storage บนแต่ละ Node สามารถทำงานร่วมกันได้เสมือนเป็น SAN Storage ชุดเดียวกัน และรองรับความสามารถสำคัญๆ อย่าง vMotion และ DRS ของ VMware ได้อย่างสมบูรณ์

นอกจากนี้ Nutanix ยังได้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละ Node โดยการนำเทคโนโลยีที่มีความเร็วสูงสุดในเวลานี้อย่าง Fusion-IO และ Solid State Drive (SSD) มาทำ Storage Tiering ร่วมกับ SATA ทำให้ระบบ Virtualization สามารถใช้ประสิทธิภาพในระดับ Fusion-IO ที่เร็วกว่า SAN Storage มาตรฐานประมาณ 5 – 20 เท่าได้ ในพื้นที่มหาศาลระดับของ Enterprise SATA

โดยสรุปแล้ว Nutanix นั้นมี Feature ดังต่อไปนี้

  • Command Center: ระบบ Web-based Management สำหรับบริหารจัดการทั้ง Compute และ Storage ในหน้าจอเดียวกัน
  • Cluster และ Data Replication ที่ทำทั้งในระดับของ Disk Failover และ Node Failover โดยที่ยังไม่ต้องมีลิขสิทธิ์ในระดับสูงของ VMware
  • Heat-Optimized Tiering สำหรับการกำหนด IO สำหรับแต่ละ Image ให้แตกต่างกันตามการใช้งานของข้อมูลแต่ละส่วน
  • สนับสนุนการทำ Snapshot และ Point-in-Time Copies สำหรับการทำ Quick Recovery
  • มีความสามารถในการ Clone VM Image ระดับสูงในลักษณะ Writable ทั้งสำหรับการ Clone Production Server และการสร้าง Virtual Desktop Infrastructure อย่างรวดเร็ว
  • สนับสนุนทุกความสามารถสำคัญของ VMware ไม่ว่าจะเป็น vMotion, Dynamic Resource Scheduler (DRS), High Availability Failover หรือแม้แต่ Server Migration

ซึ่งทาง ESG Lab เองก็ออกมารับประกันถึงความง่ายในการใช้งานของ Nutanix จากการทดสอบจริงเป็นเวลา 2 วันที่ San Jose, California

ความง่ายในการบริหารจัดการ และความสามารถในการจัดการข้อมูลในระดับ Enterprise

ESG Lab ได้เริ่มทำการทดสอบโดยใช้ Nutanix เพียงแค่ 3 Node เพื่อจะได้ทำการเพิ่ม Node เข้าไปได้ในอนาคต โดยเริ่มต้นจากการเปิดตัว Web Browser ขึ้นมาเพื่อเรียกใช้งาน Command Center ก่อน ซึ่งใน Command Center นี้กจะแสดง Nutanix Node โดยแยกในส่วนของการบริหารจัดการ Storage ไว้ทางด้านซ้าย และการบริหารจัดการ Compute เอาไว้ทางด้านขวาดังแสดงในภาพ

หน้าจอบริหารจัดการของ Nutanix คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

จากนั้นทาง ESG Lab ได้ทำการสร้าง vDisk สำหรับเตรียมติดตั้ง Linux ซึ่งก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็วในการกรอกฟอร์มเพียง 4 บรรทัด

สามารถสร้าง vDisk ได้อย่างง่ายๆ ในหน้าจอเดียว คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

จากนั้นก็เป็นการทดสอบการ Clone โดยทาง ESG ได้ทำการ Writable Clone ตัว Windows 7 ขึ้นมา 20 ชุด และ Ubuntu อีก 5 ชุด ซึ่งทั้งบน vSphere และ Command Center เองก็เห็นตัว Image เหล่านี้จำนวนเท่ากัน

สามารถ Clone Image จำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

จากนั้นทาง ESG Lab ได้ทำการเพิ่ม Nutanix Node เข้าไปอีก 1 Node ทำให้ในหน้าจอของ Command Center มองเห็น Nutanix Node เพิ่มขึ้นจาก 3 Node รวมเป็น 4 Node

จำลองการเพิ่ม Nutanix Node คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

ต่อมา ESG Lab ได้ทำการทดสอบการย้าย Virtual Image ระหว่าง Physical Server 2 Node ซึ่งสามารถทำสำเร็จได้ภายในเวลาไม่ถึง 1 นาที

ผลการทดสอบการย้าย VM ระหว่าง Physical คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

และสำหรับการทดสอบ Dynamic Resource Scheduling ทาง ESG Lab ได้สร้าง Image ที่กิน CPU 100% ขึ้นมา ซึ่งเมื่อ Image นี้ถูกเปิดใช้งาน Image อื่นๆ ที่มีอยู่เดิมก็ทำการย้ายตัวเองไปยัง Physical Server อื่นด้วยการ vMotion หนีไปทันที

ทำงานร่วมกับ VMware Dynamic Resource Scheduler ได้อย่างสวยงาม คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

ส่วนที่เร้าใจที่สุดมักจะตกเป็นเรื่องการทดสอบ High Availability ซึ่งทาง ESG Lab ก็ไม่รอช้า จัดการปิด Physical Node ลงไป 1 ชุด ซึ่งมี 5 Virtual Image ทำงานอยู่ ซึ่งบนหน้าจอของ vCenterก็มองเห็นการ Migrate ของ 5 Image นั้นทันทีเช่นกัน

ทดสอบการทำ HA คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

ถัดมาคือการทดสอบ Snapshot โดยการตรวจสอบหาไฟล์ที่เพิ่งสร้างขึ้นมาใน Image ที่ทำการ Clone ไป และย้อน Snapshot กลับมา ซึ่ง Nutanix ก็ผ่านการทดสอบเหล่านี้อย่างสวยงาม

Snapshot ของ Nutanix คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

ข้อสรุปของ Nutanix

Nutanix มีแนวโน้มที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับระบบ Virtualization ขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างมาก ทั้งในแง่ของ CapEx และ OpEx เนื่องจากการตัดปัญหาเรื่องการสร้าง SAN Storage Networking ใน Data Center รวมถึงการขยายระบบเพิ่มเติมในอนาคต อีกทั้งยังสามารถบริหารจัดการได้อย่างง่ายดาย โดยสนับสนุนทุกความสามารถสำคัญของ VMware อย่างครบถ้วน

โดยรวมแล้ว Nutanix ถือว่ามีความสามารถในระดับ Enterprise ที่ครอบคลุมรอบด้าน อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพสูง, มีความสเถียรสูงสำหรับการทำ Virtualization อีกทั้งยังง่ายต่อการใช้งาน โดยทาง ESG Lab ใช้เวลาเพียงไม่ถึง 30 นาที ในการทำให้ Image แรกบน Nutanix ถูกติดตั้งจนเสร็จและใช้งานได้ (ประหยัดเวลาทั้งการติดตั้งขึ้น Rack, การ Initialize และสร้าง LUN บน SAN Storage, การติดตั้ง VMware และเชื่อม VMware เข้ากับ SAN Storage)

ความเป็นจริงที่น่าคิด

การมาของ Nutanix จะต้องฝ่าฟันกับผู้ผลิต Storage รายต่างๆ อย่างแน่นอน เพราะผู้ผลิต Storage รายต่างๆ โดยเฉพาะรายใหญ่นั้นได้เดินไปคนละเส้นทางกับ Nutanix โดยการพยายามขยายระบบ Storage ให้ใหญ่ขึ้น, มี IO มากขึ้น และต้องใช้ Network ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น

แต่ในขณะเดียวกันด้วยเสียงจากผู้ใช้งาน ดูเหมือนแนวคิดของ Nutanix จะมาในทางที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากกว่า โดยจากการสำรวจเพิ่มเติม ผู้ใช้งานจำนวนถึง 44% ต้องการความง่ายในการบริหารจัดการร่วมกันระหว่าง Server และ Storage ในขณะที่อีก 37% ต้องการความรวดเร็วในการ Deploy ระบบ และอีก 35% ต้องการให้ค่า Total Cost of Ownership (TCO) คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น โดยอีก 33% นั้นต้องการประหยัดเวลาและลดความซับซ้อนในการเชื่อมต่อระหว่าง Server และ Storage นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังต้องการแก้ปัญหาประเด็นเรื่องความเข้ากันได้ของ Hardware, ประสิทธิภาพในการทำงาน และบริการที่ดีอีกด้วย

Nutanix ได้ทำให้การใช้งาน Virtualization เป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว, ง่าย, ประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังแก้ไขปัญหาเรื่องความเข้ากันได้ของ Hardware และผู้ใช้งานเองก็สามารถซื้อบริการง่ายๆ ได้จากผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายเพียงรายเดียว สำหรับระบบทั้งหมดอีกด้วย และที่เหนืออื่นใดคือการที่ Nutanix รองรับทุกความสามารถที่ผู้ใช้งานต้องการจาก VMware อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น vMotion, Dynamic Resource Scheduler และ HA Failover อีกด้วย

ESG ได้แนะนำให้ Nutanix สนับสนุน Citrix XenServer และ Microsoft Hyper-V เพิ่มเติม เพื่อขยายฐานลูกค้าของ Nutanix ต่อไป

สุดท้ายแล้ว เทคโนโลยี Virtualization ก็จะยังคงต้องการการพัฒนาต่อยอดเพิ่มขึ้นไปอีกอย่างต่อเนื่อง วันนี้ Nutanix ได้กลายมาเป็นผู้นำแถวหน้าของ Trend ใหม่ในการยุบรวม Server และ Storage เข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์ และง่ายต่อการใช้งาน  ESG แนะนำว่าถ้าบริษัทไหนต้องการการทำ Virtualization ในระดับใหญ่และซับซ้อน  Nutanix ถือเป็นตัวเลือกเแรกๆ ที่จะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี

———-

บทความโดย Throughwave Thailand

ท่านสามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ https://www.throughwave.co.th