Posts

Storage Server ทางเลือกใหม่สำหรับการจัดเก็บข้อมูล

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยี SAN Storage จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่มาแรงมาก แทบทุกองค์กรต้องมีการซื้อหามาใช้ ซึ่งส่วนนึงอาจจะเป็นเพราะแรงผลักดันจากความนิยมของ VMware ที่แนะนำให้ติดตั้งบน SAN Storage นั่นเอง แต่มาในวันนี้ทาง Throughwave Thailand ก็ขอเสนอทางเลือกในการจัดเก็บข้อมูลอีกทางหนึ่ง ซึ่งจะทำให้คุณมีอิสระในการเลือกองค์ประกอบที่เหมาะสมกับระบบที่คุณต้องการที่สุด ในราคาที่เหมาะสมที่สุด นั่นคือการนำ Server เฉพาะทางสำหรับการจัดเก็บข้อมูลมาใช้ ซึ่งมีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า Storage Server นั่นเอง Read more

Infortrend รุกหนักตลาด Media/Entertainment และ HPC ด้วย ESVA Cluster File System

Infortrend Technology ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบจัดเก็บข้อมูลแบบเครือข่าย ได้ประกาศเปิดตัวโซลูชันล่าสุด ESVA Cluster File System โดยใช้ Infortrend ESVA ให้บริการ Cluster File System ร่วมกันระหว่างเครื่องลูกข่ายที่ใช้ Windows, Mac และ Linux ทำให้เครื่องลูกข่ายหลายๆ เครื่องสามารถเข้าถึงไฟล์เดียวกันได้ในเวลาเดียวกัน โซลูชันนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับงานทางด้าน Media/Entertainment ที่ต้องมีการตัดต่อไฟล์คุณภาพสูงเป็น Workflow โดยเฉพาะ และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานประมวลผลประสิทธิภาพสูง หรือ High Performance Computing (HPC) ได้อีกด้วย Read more

เจาะลึกเทคโนโลยี Storage Virtualization สำหรับ Cloud Application (ตอนที่ 1)

ในเวลานี้ คำว่า Cloud ได้กลายมาเป็นหนึ่งในคำมาตรฐานสำหรับวงการไอทีบ้านเราไปแล้ว วันนี้เราจะมาดูกันครับ ว่าคุณสมบัติของ Storage ที่เหมาะสมจะนำมาใช้ในระบบ Cloud Application ต่างๆ จะมีอะไรกันบ้าง

หัวใจของคำว่า Cloud

คำว่า Cloud หรือที่บางครั้งมักจะถูกเรียกเป็นภาษาไทยว่า กลุ่มเมฆ นั้น จริงๆ แล้วไม่ใช่คำที่เกิดมาจากทาง Technology แต่เกิดมาจากการตลาดเสียมากกว่า โดยในความหมายรวมๆ นั้น ไม่ว่าจะนำคำว่า Cloud ไปใช้กับอะไรก็ตาม มักจะหมายถึง ”การที่เทคโนโลยีนั้นๆ สามารถเพิ่มขยายได้แบบทันทีและง่ายดาย เพื่อรองรับต่อการปริมาณความต้องการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น” ยกตัวอย่างเช่น Cloud Application ก็จะหมายถึง “Application ที่สามารถขยายระบบเพื่อรองรับปริมาณผู้ใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น” ดังนั้นเราจึงสามารถกล่าวได้ว่า หัวใจของคำว่า Cloud ก็คือ “มีความสามารถในการขยายได้อย่างง่ายดาย” นั่นเอง

Storage สำหรับ Cloud Application

เมื่อเรารู้แล้วว่าหัวใจของคำว่า Cloud คืออะไร และ Cloud Application คืออะไร คราวนี้เรามาลองดูกันบ้าง ว่าในเทคโนโลยีทางด้านการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Storage หรือ Database ก็ตาม จะมีทางเลือกไหนที่สามารถตอบโจทย์ของคำว่า Cloud ได้บ้าง

1. Scale-Up and Scale-Out SAN Storage

สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ SAN Storage เป็นฐานสำหรับระบบงานของตัวเอง SAN Storage นั้นๆ ควรจะสนับสนุนการขยายพื้นที่และประสิทธิภาพได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสมกับค่าใช้จ่าย และความต้องการของระบบในเวลานั้นๆ โดยในการใช้งาน SAN Storage นั้น คีย์เวิร์ดหลักๆ ที่มักจะพบก็จะหนีไม่พ้นการขยายแบบ Scale Up และ Scale Out นั่นเอง

Scale Up: แนวคิดของการขยายแบบ Scale Up คือการขยายระบบ Storage เดิมที่มีอยู่ผ่าน Expansion Port ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Fibre Channel 4Gbps หรือ SAS2 6Gbps โดยวัตถุประสงค์หลักๆ คือการเพิ่มขยายพื้นที่เป็นหลัก ไม่ใช่การแก้ปัญหาเรื่องคอขวดของระบบ หรือปัญหาทงด้านประสิทธิภาพ ดังนั้นข้อดีของการขยายระบบ Storage แบบ Scale Up คือสามารถเพิ่มพื้นที่ของระบบได้ ในงบประมาณที่ไม่สูงนั่นเอง
Scale Out: แนวคิดของการขยายแบบ Scale Out คือการขยายระบบ Storage ในระดับ Logical โดยการเพิ่ม Storage Controller ให้ทำงานร่วมกันผ่าน SAN Networking ซึ่งจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปจากการขยายแบบ Scale Up คือการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ Storage นั่นเอง เนื่องจากการขยายระบบแบบ Scale Out นี้ จะทำให้ระบบ Storage ของเรามี Host Interface สำหรับเชื่อมต่อกับเครื่อง Server มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มขนาดของ Cache ในระบบให้มากขึ้นอีกด้วย แต่การขยายระบบแบบ Scale Out นี้จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพราะจริงๆ แล้วมันคือการลงทุนซื้อ Storage Hardware ใหม่หมดอีกชุดนั่นเอง

สำหรับข้อเสียของการใช้ SAN Storage สำหรับระบบงานแบบ Cloud ก็คือ SAN Storage ไม่สามารถ Share File ระหว่างหลายๆ Server เข้าด้วยกันได้ ซึ่งเราอาจจะต้องพึ่งพาความสามารถของ File System ต่างๆ ในการทำหน้าที่นี้ และทำให้การติดตั้งระบบมีความยุ่งยากมากขึ้น หรือต้องยึดติดกับบางแบรนด์มากขึ้นนั่นเอง

2. Parallel NAS Storage

สำหรับผู้ที่ต้องการความสามารถในการ Share File ระหว่างหลายๆ Server พร้อมๆ กัน ซึ่ง SAN Storage ไม่สามารถทำได้ ทางเลือกที่ดีสำหรับกรณีนี้คือการหนีมาใช้ NAS Storage นั่นเอง แต่ NAS Storage ทั่วๆ ไปที่เราใช้กันนั้น จริงๆ แล้วไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับระบบงานระดับ Cloud เลย เนื่องจาก NAS มักจะมีปัญหาทางด้านประสิทธิภาพ และเกิดคอขวดของระบบได้ง่ายมาก ดังนั้น Parallel NAS Storage จึงได้เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานี้ และตอบโจทย์ของ Cloud Application อย่างเต็มตัว

สิ่งที่ Parallel NAS Storage ทำนั้น มีแนวคิดคล้ายๆ กับการทำงานของ Bit Torrent คือให้ NAS Storage หลายๆ ชุด ช่วยกันส่งข้อมูลมาให้ผู้ใช้งานในลักษณะ Parallel เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด, ได้ปริมาณ Cache สูงสุด, ได้ Throughput สูงสุด และได้ Redundancy Level ที่สูงสุดนั่นเอง โดย Parallel NAS Storage นี้ มักจะถูกสร้างมาให้เป็น Object-based Storage ด้วย
ในการลงทุนกับ NAS ประเภทนี้ ในระยะเริ่มต้นอาจจะถือว่ามีราคาค่อนข้างสูง แต่เมื่อเทียบค่าใช้จ่ายและความง่ายในภาพรวม ตั้งแต่เรื่องการติดตั้ง การดูแลระบบ และความง่ายในการใช้งานแล้ว ถือว่าเป็น Storage ที่เหมาะสมกับ Cloud Application ที่ต้องการ Server หลักพันจนถึงหลักหมื่นเครื่องได้เลย

3. NoSQL

สำหรับเทคโนโลยี NoSQL ที่กำลังมาแรงมากในช่วงนี้ จริงๆ แล้วก็จัดได้ว่าน่าจะได้กลายเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานในการ Implement ระบบขนาดใหญ่ได้อย่างไม่ยากนัก โดย NoSQL เองเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาคอขวดของระบบ Database และมีความสามารถในการรองรับงานเฉพาะทางที่สูงกว่า SQL มาก โดยทั่วๆ ไปแล้ว NoSQL เกือบทุกตัวจะสามารถทำ Replication และการทำ Sharding ได้ เพื่อให้เราสามารถสร้างระบบฐานข้อมูลแบบ Distributed และรองรับการ Scale Out ในระดับของ Application ฐานข้อมูลได้อย่างไม่ยากเย็นนัก

ข้อดีของ NoSQL ก็คือเรื่องของประสิทธิภาพในการรับโหลดจากผู้ใช้งานจำนวนมากตั้งแต่หลายหมื่นไปจนถึงหลายล้านคนพร้อมๆ กัน ซึ่งบริการบน Cloud ใหญ่ๆ เกือบทั้งหมดที่เราใช้ก็มักจะเป็น NoSQL ทั้งสิ้น แต่ข้อเสียหลักๆ ก็คงเป็นเรื่องของการรับประกันและสนับสนุนเทคโนโลยีเหล่านี้ในบ้านเรานั่นเอง เนื่องจากยังไม่มีเจ้าไหนที่เข้ามาให้บริการในลักษณะ Commercial มากนัก และผู้ให้บริการ Cloud ใหญ่ๆ ก็มักจะพัฒนาระบบ NoSQL ของตัวเองขึ้นมาใช้กันเป็นส่วนมาก

จริงๆ แล้วถ้าพูดถึงเรื่องของคำว่า Cloud กับคำว่า Storage นั้น ยังมีอีกหลายแง่มุมให้เราพิจารณากันอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Cloud Storage, Cloud Tiering และอื่นๆ อีกมากมาย ก็คงต้องขอหยิบยกไว้พูดกันในคราวหน้า สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลากันไปก่อน สวัสดีครับ

Supermicro เปิดตัว 8-way 80-Core SuperServer รองรับ Intel Xeon E7-8800/4800

ซูเปอร์ไมโคร (Supermicro) ผู้ผลิตระบบเซิฟเวอร์สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ชั้นนำ เปิดตัวเซิฟเวอร์ซีรีส์ 8-Way รองรับซีพียูอินเทลชนิด 10 คอร์รุ่นใหม่ Xeon E7-8800 / 4800 โดยสนับสนุนการติดตั้งซีพียูจำนวนถึง 8 ชุด รวมจำนวนคอร์ได้ถึง 80 คอร์, ติดตั้งหน่วยความจำแบบ DDR3 ได้ถึง 2,048 GB พร้อมฮาร์ดดิสก์ภายในแบบ SATA/SAS2 จำนวน 24 ชุด พร้อมอินเตอร์เฟสแบบ PCI-E 2.0 จำนวน 10 ช่อง เพื่อรองรับการเชื่อมต่อกับระบบสตอเรจ (Storage) ภายนอกทั้งแบบ iSCSI, Fibre Channel และ Fibre Channel over Ethernet, หน่วยประมวลผลกราฟฟิค (GPU) หรือแม้แต่หน่วยเก็บข้อมูลประสิทธิภาพสูงระดับ 1 ล้าน IOPS อย่าง Fusion-IO Read more

Supermicro จับมือ Fusion-io เสนอโซลูชั่นส์ Server ประสิทธิภาพสูง ความเร็ว 1.4 ล้าน IOPS

ซูเปอร์ไมโคร (Supermicro) ผู้ผลิตเซิฟเวอร์รายใหญ่สัญชาติอเมริกัน จับมือกับฟิวชั่นไอโอ (Fusion-io) ผู้ผลิต IO Drive เสนอโซลูชั่นส์เซิฟเวอร์ความเร็วสูง รองรับตลาด SAP, Oracle, High Performance Computing และ Cloud โดยเฉพาะ ซึ่งจากการทดสอบ SuperServer จาก Supermicro ที่ติดตั้งการ์ด Fusion-io Octal นั้น สามารถทำความเร็วในการเขียนอ่านข้อมูลได้ถึง 1.4 ล้าน IOPS (IO per Second) หรือเทียบความเร็วได้ประมาณ Solid State จำนวน 300 ชุดทำ RAID 0 กัน หรือประมาณ SAS2 จำนวน 7,500 ชุดทำ RAID 0 เลยทีเดียว Read more

Supermicro Launches 8-Way Enterprise Server and GPU SuperBlade® Systems at CeBIT

8-Way 5U Server and 20-GPU SuperBlade® with Two QDR IB Switches in 7U Read more

Supermicro Achieves 1.4 Million IOPS with 1U SuperServer® Equipped with One ioDrive Octal

Supermicro and Fusion-io Enter into OEM Relationship to offer Supermicro Customers Unparalleled Performance and Reliability While Reducing Energy Consumption Read more

Supermicro Servers Support Fusion-io™

Supermicro has partnered with Fusion-io to bring the latest high performance storage technology to server system customers. Fusion-io’s solid state storage application accelerators, based on NAND Flash memory technology, offer several magnitudes of breakthrough performance improvement at a fraction of the cost of today’s traditional disk-based storage systems. The company’s ioMemory architecture creates a new tier in the memory hierarchy with 100 times the capacity density and 10 times the capacity per dollar of traditional DRAM. Fusion-io’s NAND flash-based PCI-E ioDrive cards provide terabytes of near-memory-speed storage in each Supermicro server node, bringing extremely large memory problems and I/O bound analysis to a new level of cost effectiveness. Read more