Posts

Supermicro จับมือ Nexenta เปิดตัว Software Defined Storage สำหรับองค์กร ความจุ 1.5PB รองรับทั้ง All Flash, Hybrid และ HDD

supermicro

Supermicro นำเสนอระบบ Unified SAN Storage แบบ Software Defined Storage ร่วมกับ Nexenta ด้วยระบบ สำหรับตอบโจทย์การใช้งานระดับองค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถพัฒนา Application ขนาดใหญ่, ลงทุนระบบ Virtualization และ Cloud ได้ทันที พร้อมตอบโจทย์ความเร็วทุกระดับได้ด้วย All Flash Technology และ NL-SAS Hard Drive Read more

Supermicro เสริมความสามารถให้ VMware EVO: RAIL และ VSAN สามารถทำ File Sharing ได้ด้วย NexentaConnect

Supermicro ผู้ผลิตระบบ Server ชั้นนำสำหรับ Data Center ขนาดใหญ่ทั่วโลก ได้เสริมความสามารถให้กับโซลูชั่น Hyper-Converged Infrastructure จาก VMware EVO: RAIL และ VMware VSAN ให้สามารถให้บริการ File Sharing ด้วย NFS และ SMB เพื่อตอบรับความต้องการของ Software Defined Data Center ขึ้นไปอีกขั้น จับมือกับ Nexenta ในการ Integrate NexentaConnect ที่จะนำพื้นที่จาก EVO: RAIL และ VSAN มาสร้าง File Sharing Service สำหรับให้บริการให้แก่ Data Center Servers และ End Point PCs ได้ทันที โดยมีจุดเด่นดังนี้

  • ให้บริการ File Sharing ได้ครอบคลุม ทั้ง NFSv3, NFSv4 และ SMB
  • บริหารจัดการได้อย่างง่ายดายผ่าน vSphere Web Client
  • รองรับความสามารถ VMware HA และ DRS
  • สามารถ Integrate เข้ากับ Domain Service เช่น AD, LDAP และ Kerberos ได้
  • เพิ่มความทนทานให้แก่ VSAN ในการทำ Backup และ Availability
  • สนับสนุนการทำ Remote Site Replication
  • ลดพื้นที่ในการใช้งานด้วยการทำ Inline Deduplication และ Compression
  • มีรายงานทางด้านประสิทธิภาพ เช่น IOPS และ Latency พร้อมทั้งมีรายงานด้าน Capacity และการทำ Data Reduction

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อทรูเวฟได้ที่ 02-210-0969

2014-11-14_171019


ข้อมูลเพิ่มเติม

Nexenta NexentaConnect https://www.nexenta.com/products/nexentaconnect
Nexenta NexentaConnact + VSAN https://www.nexenta.com/products/nexentaconnect/nexentaconnect-vsan

ที่มา: https://www.supermicro.com.tw/newsroom/pressreleases/2014/press141016_Nexenta-smci-vmw.cfm

Infortrend เปิดตัว EonStor DS G7 Storage ที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูงถึง 700,000 IOPs

Infortrend Technology บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้าน Storage System เปิดตัว EonStor DS G7 ซึ่งเป็น Storage รุ่นใหม่ล่าสุด เพื่อรองรับการใช้งานด้านข้อมูลที่มากขึ้นขององค์กร โดยตัว EonStor DS G7 นี้มีประสิทธิภาพ (Throughput) การอ่านข้อมูลสูงสุด 5,500 MB/s เขียนข้อมูลได้สูงสุด 3,000 MB/s ส่งผลให้รองรับการอ่านข้อมูลสูงสุดถึง 700K IOPS ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็น Storage รุ่นที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของตลาดในเวลานี้

คุณสมบัติเด่นของ EonStor DS G7

  • มีประสิทธิภาพการทำงานสูง (Throughput และ IOPS สูงถึง 700,000 IOPs)
  • รองรับการใช้งานหนักๆ เช่น ในวงการตัดต่อ/ถ่ายทอด วิดีโอ HD, Cloud Services, HPC
  • เพิ่มประสิทธิภาพการสำรองข้อมูล และร่นระยะเวลาที่ใช้ในการสำรองข้อมูล
  • รองรับการขยาย Disk สูงสุดได้ 240 ลูก
  • มีความคุ้มค่ามาก เมื่อคิดเทียบขนาดพื้นที่ใช้งาน เทียบกับราคา

3 รุ่นเด่นของ EonStor DS G7

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.infortrend.com/Event2011/2011_Global/201112_ESDS_G7/ESDS_G7.html

Infortrend เจาะตลาด NAS เต็มตัว ส่ง EonNAS ฟีเจอร์ครบ ราคาคุ้มค่าลงสนามแข่งขัน!

Infortrend ผู้ผลิตระบบ SAN Storage ประสบการณ์กว่า 20 ปี ได้รุกตลาด Unified NAS Storage (Network Attached Storage) สำหรับตลาดทุกขนาด เปิดตัว EonNAS 4 Series ได้แก่ EonNAS Pro, EonNAS 1000, EonNAS 3000 และ EonNAS 5000 สำหรับตลาดตั้งแต่ SOHO จนถึง Enterprise ขนาดใหญ่ รองรับ Protocol ที่หลากหลายครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น NFS, CIFS, AFP, Apple Time Machine, FTP, HTTP และ iSCSI รวมถึงความสามารถในการปกป้องข้อมูลด้วย RAID, Snapshot, ZFS, NDMP, Remote Replication แถมด้วยความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพด้วย Deduplication ในตัวอีกด้วย! Read more

JBOD – ทางเลือกดีๆ สำหรับ External Storage ราคาประหยัด

ในปัจจุบันนี้ความต้องการในการใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลปริมาณมาก มีมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ความต้องการของระบบ External Storage สูงตามขึ้นไป แต่ในการลงทุน SAN Storage ก็อาจมีราคาสูงเกินไป ในขณะที่การลงทุน NAS Storage ก็อาจได้ประสิทธิภาพในระดับที่ไม่เพียงพอ ทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจในการเพิ่มพื้นที่ให้กับระบบ Server ต่างๆ เช่น CCTV Server, File Server, Database Server หรือ Backup/DR Server จึงได้แก่ระบบ JBOD นั่นเอง Read more

Infortrend EonNAS กับความสามารถใหม่ Deduplication ซึ่งช่วยประหยัดพื้นที่ได้ถึง 90%

Infortrend ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Networked Storage เผยความสามารถในการทำ Deduplication ของ EonNAS 3000 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งช่วยประหยัดพื้นที่ได้สูงสุดถึง 90% โดยแบ่งตามประเภทของ Application ต่างๆ ดังนี้ Read more

Infortrend EonStor DS ได้รับ VMware Ready สำหรับ vSphere® 5

อินฟอร์เทรนด์ (Infortrend) ผู้ผลิตระบบ SAN Storage ชั้นนำ ได้ประกาศสถานะ VMware Ready™ สำหรับ SAN Storage รุ่น EonStor DS แล้ว ซึ่งสถานะ VMware Ready™ นี้ บ่งบอกถึงการผ่านการทดสอบจาก VMware อย่างสมบูรณ์แล้วนั่นเอง Read more

Infortrend ส่ง DC Power SAN Storage รุกตลาด Telco, Defence และ Oil and Gas

อินฟอร์เทรนด์ (Infortrend) เปิดฉากรุกตลาด Telco, Defence และ Oil and Gas โดยส่ง Fibre Channel SAN Storage รุ่นใหม่ EonStor DS S12F-R2840N และ EonStor DS S12F-S2840N ซึ่งติดตั้ง Redundant Power Supply แบบ DC สำหรับตลาดนี้โดยเฉพาะ ซึ่งจากเดิมลูกค้าแต่ละรายจะมีตัวเลือกของ Storage ที่ใช้งานระบบไฟฟ้าแบบ DC เพียงไม่กี่รายเท่านั้น และในวันนี้ Infortrend ก็จะเข้าร่วมแข่งขันด้วย Read more

Storage Server ทางเลือกใหม่สำหรับการจัดเก็บข้อมูล

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยี SAN Storage จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่มาแรงมาก แทบทุกองค์กรต้องมีการซื้อหามาใช้ ซึ่งส่วนนึงอาจจะเป็นเพราะแรงผลักดันจากความนิยมของ VMware ที่แนะนำให้ติดตั้งบน SAN Storage นั่นเอง แต่มาในวันนี้ทาง Throughwave Thailand ก็ขอเสนอทางเลือกในการจัดเก็บข้อมูลอีกทางหนึ่ง ซึ่งจะทำให้คุณมีอิสระในการเลือกองค์ประกอบที่เหมาะสมกับระบบที่คุณต้องการที่สุด ในราคาที่เหมาะสมที่สุด นั่นคือการนำ Server เฉพาะทางสำหรับการจัดเก็บข้อมูลมาใช้ ซึ่งมีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า Storage Server นั่นเอง Read more

Infortrend รุกหนักตลาด Media/Entertainment และ HPC ด้วย ESVA Cluster File System

Infortrend Technology ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบจัดเก็บข้อมูลแบบเครือข่าย ได้ประกาศเปิดตัวโซลูชันล่าสุด ESVA Cluster File System โดยใช้ Infortrend ESVA ให้บริการ Cluster File System ร่วมกันระหว่างเครื่องลูกข่ายที่ใช้ Windows, Mac และ Linux ทำให้เครื่องลูกข่ายหลายๆ เครื่องสามารถเข้าถึงไฟล์เดียวกันได้ในเวลาเดียวกัน โซลูชันนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับงานทางด้าน Media/Entertainment ที่ต้องมีการตัดต่อไฟล์คุณภาพสูงเป็น Workflow โดยเฉพาะ และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานประมวลผลประสิทธิภาพสูง หรือ High Performance Computing (HPC) ได้อีกด้วย Read more

เจาะลึกเทคโนโลยี Storage Virtualization สำหรับ Cloud Application (ตอนที่ 1)

ในเวลานี้ คำว่า Cloud ได้กลายมาเป็นหนึ่งในคำมาตรฐานสำหรับวงการไอทีบ้านเราไปแล้ว วันนี้เราจะมาดูกันครับ ว่าคุณสมบัติของ Storage ที่เหมาะสมจะนำมาใช้ในระบบ Cloud Application ต่างๆ จะมีอะไรกันบ้าง

หัวใจของคำว่า Cloud

คำว่า Cloud หรือที่บางครั้งมักจะถูกเรียกเป็นภาษาไทยว่า กลุ่มเมฆ นั้น จริงๆ แล้วไม่ใช่คำที่เกิดมาจากทาง Technology แต่เกิดมาจากการตลาดเสียมากกว่า โดยในความหมายรวมๆ นั้น ไม่ว่าจะนำคำว่า Cloud ไปใช้กับอะไรก็ตาม มักจะหมายถึง ”การที่เทคโนโลยีนั้นๆ สามารถเพิ่มขยายได้แบบทันทีและง่ายดาย เพื่อรองรับต่อการปริมาณความต้องการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น” ยกตัวอย่างเช่น Cloud Application ก็จะหมายถึง “Application ที่สามารถขยายระบบเพื่อรองรับปริมาณผู้ใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น” ดังนั้นเราจึงสามารถกล่าวได้ว่า หัวใจของคำว่า Cloud ก็คือ “มีความสามารถในการขยายได้อย่างง่ายดาย” นั่นเอง

Storage สำหรับ Cloud Application

เมื่อเรารู้แล้วว่าหัวใจของคำว่า Cloud คืออะไร และ Cloud Application คืออะไร คราวนี้เรามาลองดูกันบ้าง ว่าในเทคโนโลยีทางด้านการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Storage หรือ Database ก็ตาม จะมีทางเลือกไหนที่สามารถตอบโจทย์ของคำว่า Cloud ได้บ้าง

1. Scale-Up and Scale-Out SAN Storage

สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ SAN Storage เป็นฐานสำหรับระบบงานของตัวเอง SAN Storage นั้นๆ ควรจะสนับสนุนการขยายพื้นที่และประสิทธิภาพได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสมกับค่าใช้จ่าย และความต้องการของระบบในเวลานั้นๆ โดยในการใช้งาน SAN Storage นั้น คีย์เวิร์ดหลักๆ ที่มักจะพบก็จะหนีไม่พ้นการขยายแบบ Scale Up และ Scale Out นั่นเอง

Scale Up: แนวคิดของการขยายแบบ Scale Up คือการขยายระบบ Storage เดิมที่มีอยู่ผ่าน Expansion Port ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Fibre Channel 4Gbps หรือ SAS2 6Gbps โดยวัตถุประสงค์หลักๆ คือการเพิ่มขยายพื้นที่เป็นหลัก ไม่ใช่การแก้ปัญหาเรื่องคอขวดของระบบ หรือปัญหาทงด้านประสิทธิภาพ ดังนั้นข้อดีของการขยายระบบ Storage แบบ Scale Up คือสามารถเพิ่มพื้นที่ของระบบได้ ในงบประมาณที่ไม่สูงนั่นเอง
Scale Out: แนวคิดของการขยายแบบ Scale Out คือการขยายระบบ Storage ในระดับ Logical โดยการเพิ่ม Storage Controller ให้ทำงานร่วมกันผ่าน SAN Networking ซึ่งจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปจากการขยายแบบ Scale Up คือการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ Storage นั่นเอง เนื่องจากการขยายระบบแบบ Scale Out นี้ จะทำให้ระบบ Storage ของเรามี Host Interface สำหรับเชื่อมต่อกับเครื่อง Server มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มขนาดของ Cache ในระบบให้มากขึ้นอีกด้วย แต่การขยายระบบแบบ Scale Out นี้จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพราะจริงๆ แล้วมันคือการลงทุนซื้อ Storage Hardware ใหม่หมดอีกชุดนั่นเอง

สำหรับข้อเสียของการใช้ SAN Storage สำหรับระบบงานแบบ Cloud ก็คือ SAN Storage ไม่สามารถ Share File ระหว่างหลายๆ Server เข้าด้วยกันได้ ซึ่งเราอาจจะต้องพึ่งพาความสามารถของ File System ต่างๆ ในการทำหน้าที่นี้ และทำให้การติดตั้งระบบมีความยุ่งยากมากขึ้น หรือต้องยึดติดกับบางแบรนด์มากขึ้นนั่นเอง

2. Parallel NAS Storage

สำหรับผู้ที่ต้องการความสามารถในการ Share File ระหว่างหลายๆ Server พร้อมๆ กัน ซึ่ง SAN Storage ไม่สามารถทำได้ ทางเลือกที่ดีสำหรับกรณีนี้คือการหนีมาใช้ NAS Storage นั่นเอง แต่ NAS Storage ทั่วๆ ไปที่เราใช้กันนั้น จริงๆ แล้วไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับระบบงานระดับ Cloud เลย เนื่องจาก NAS มักจะมีปัญหาทางด้านประสิทธิภาพ และเกิดคอขวดของระบบได้ง่ายมาก ดังนั้น Parallel NAS Storage จึงได้เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานี้ และตอบโจทย์ของ Cloud Application อย่างเต็มตัว

สิ่งที่ Parallel NAS Storage ทำนั้น มีแนวคิดคล้ายๆ กับการทำงานของ Bit Torrent คือให้ NAS Storage หลายๆ ชุด ช่วยกันส่งข้อมูลมาให้ผู้ใช้งานในลักษณะ Parallel เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด, ได้ปริมาณ Cache สูงสุด, ได้ Throughput สูงสุด และได้ Redundancy Level ที่สูงสุดนั่นเอง โดย Parallel NAS Storage นี้ มักจะถูกสร้างมาให้เป็น Object-based Storage ด้วย
ในการลงทุนกับ NAS ประเภทนี้ ในระยะเริ่มต้นอาจจะถือว่ามีราคาค่อนข้างสูง แต่เมื่อเทียบค่าใช้จ่ายและความง่ายในภาพรวม ตั้งแต่เรื่องการติดตั้ง การดูแลระบบ และความง่ายในการใช้งานแล้ว ถือว่าเป็น Storage ที่เหมาะสมกับ Cloud Application ที่ต้องการ Server หลักพันจนถึงหลักหมื่นเครื่องได้เลย

3. NoSQL

สำหรับเทคโนโลยี NoSQL ที่กำลังมาแรงมากในช่วงนี้ จริงๆ แล้วก็จัดได้ว่าน่าจะได้กลายเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานในการ Implement ระบบขนาดใหญ่ได้อย่างไม่ยากนัก โดย NoSQL เองเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาคอขวดของระบบ Database และมีความสามารถในการรองรับงานเฉพาะทางที่สูงกว่า SQL มาก โดยทั่วๆ ไปแล้ว NoSQL เกือบทุกตัวจะสามารถทำ Replication และการทำ Sharding ได้ เพื่อให้เราสามารถสร้างระบบฐานข้อมูลแบบ Distributed และรองรับการ Scale Out ในระดับของ Application ฐานข้อมูลได้อย่างไม่ยากเย็นนัก

ข้อดีของ NoSQL ก็คือเรื่องของประสิทธิภาพในการรับโหลดจากผู้ใช้งานจำนวนมากตั้งแต่หลายหมื่นไปจนถึงหลายล้านคนพร้อมๆ กัน ซึ่งบริการบน Cloud ใหญ่ๆ เกือบทั้งหมดที่เราใช้ก็มักจะเป็น NoSQL ทั้งสิ้น แต่ข้อเสียหลักๆ ก็คงเป็นเรื่องของการรับประกันและสนับสนุนเทคโนโลยีเหล่านี้ในบ้านเรานั่นเอง เนื่องจากยังไม่มีเจ้าไหนที่เข้ามาให้บริการในลักษณะ Commercial มากนัก และผู้ให้บริการ Cloud ใหญ่ๆ ก็มักจะพัฒนาระบบ NoSQL ของตัวเองขึ้นมาใช้กันเป็นส่วนมาก

จริงๆ แล้วถ้าพูดถึงเรื่องของคำว่า Cloud กับคำว่า Storage นั้น ยังมีอีกหลายแง่มุมให้เราพิจารณากันอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Cloud Storage, Cloud Tiering และอื่นๆ อีกมากมาย ก็คงต้องขอหยิบยกไว้พูดกันในคราวหน้า สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลากันไปก่อน สวัสดีครับ