Posts

Infortrend เจาะตลาด NAS เต็มตัว ส่ง EonNAS ฟีเจอร์ครบ ราคาคุ้มค่าลงสนามแข่งขัน!

Infortrend ผู้ผลิตระบบ SAN Storage ประสบการณ์กว่า 20 ปี ได้รุกตลาด Unified NAS Storage (Network Attached Storage) สำหรับตลาดทุกขนาด เปิดตัว EonNAS 4 Series ได้แก่ EonNAS Pro, EonNAS 1000, EonNAS 3000 และ EonNAS 5000 สำหรับตลาดตั้งแต่ SOHO จนถึง Enterprise ขนาดใหญ่ รองรับ Protocol ที่หลากหลายครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น NFS, CIFS, AFP, Apple Time Machine, FTP, HTTP และ iSCSI รวมถึงความสามารถในการปกป้องข้อมูลด้วย RAID, Snapshot, ZFS, NDMP, Remote Replication แถมด้วยความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพด้วย Deduplication ในตัวอีกด้วย! Read more

ESG Lab วิจารณ์ Nutanix: ผู้นำของ Virtualization Hardware ยุคใหม่

Enterprise Strategy Group หรือที่รู้จักกันดีในนามของ ESG Lab หนึ่งในค่ายวิพากษ์วิจารณ์ผู้ผลิตระบบ IT ด้านต่างๆ ที่จัดได้ว่าเป็นกลางที่สุด และเจาะลึกทางด้านเทคโนโลยีที่สุดเจ้าหนึ่ง ได้นำ Hardware จาก Nutanix ไปทดสอบการใช้งานจริงเมื่อเดือนสิงหาคม 2011 ที่ผ่านมา และได้เผยแพร่รายงานชิ้นนี้อย่างเปิดเผยที่เว็บไซต์ของ Nutanix ซึ่งผลการวิจารณ์นั้นค่อนข้างน่าสนใจมาก เนื่องจาก Nutanix เองก็ถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิก Hardware ในยุคใหม่ ที่ยุบรวมการทำงานของ Server และ Storage เข้าไว้ด้วยกันแบบเดียวกับที่ Google, Amazon หรือ Facebook ใช้กัน เพื่อมารองรับการทำ Virtualization สำหรับองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะ มาลองดูกันครับว่า Nutanix จะถูกวิจารณ์อย่างไรบ้าง

รู้จัก ESG Lab กันก่อน

ESG Lab นั้นจะทำการนำอุปกรณ์ IT จากผู้ผลิตรายต่างๆ ทางด้าน Storage, Data Management และ Information Security มาทำการทดสอบ และเขียนรายงานอย่างเป็นกลาง เพื่อให้ผู้ดูแลระบบได้ทำการศึกษาประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกทดสอบอุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอุปกรณ์ที่มีแนวคิดแปลกใหม่ ซึ่งนอกเหนือจากจะเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ดูแลระบบแล้ว ESG Lab ยังให้คำแนะนำกับผู้ผลิตรายต่างๆ ถึงการแข่งขันในตลาด, ฟีเจอร์ที่แนะนำให้ผู้ผลิตทำเพื่อตอบโจทย์ของตลาด รวมถึงยังให้ข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ใช้งาน และผู้ทำการทดสอบ ส่งผลให้ผู้ผลิตรายต่างๆ สามารถนำข้อติติงต่างๆ เหล่านี้ไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตนเองได้อีกด้วย

เมื่อรู้จักกันคร่าวๆ แล้วว่า ESG เป็นใคร เรามาลองดูผลการทดสอบกันต่อเลยครับ

ความท้าทายของ Server Virtualization

ESG Lab ได้เคยทำการสำรวจมาก่อนแล้วตั้งแต่ปี 2010 ถึงความท้าทายในการทำ Server Virtualization โดยทำการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง ว่าต้องการให้ผู้ผลิตแต่ละรายทำการพัฒนาเทคโนโลยีด้านไหนที่สุด ให้ตอบโจทย์กับความต้องการของการใช้งานและแก้ไขปัญหาของ Virtualization ที่มีอยู่

คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

ผลลัพธ์อันดับหนึ่งที่ได้นั้นคือประเด็นของ “การ Integrate ที่ดีขึ้นระหว่าง Server, Storage, Networking และ Virtualization Technology” ซึ่งที่ผ่านมานั้นการทำงานร่วมกันระหว่าง Server, Storage และ Networking ยังมีข้อจำกัดอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมระหว่าง Server และ Storage อย่างการใช้ Fibre Channel, iSCSI หรือ NAS ซึ่งต่างก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป รวมถึงการวางระบบเครือข่ายให้รองรับกับทั้ง Data และ Storage Networking อีกด้วย ทำให้ในการลงทุน Virtualization นั้นเรียกได้ว่าแทบจะต้องโละ Data Center เดิมที่มีอยู่ทิ้งไปเลย ตั้งแต่ส่วนของ Switch, Server และ Storage โดยค่าลิขสิทธิ์ของ Virtualization เจ้าดังๆ เองก็ถือว่าค่อนข้างสูงอยู่แล้ว

นอกจากปัญหาทางด้านการลงทุนตั้งต้นแล้ว Virtualization ยังนำมาซึ่งความยุ่งยากในการบริหารจัดการ ทำให้ในผลสำรวจของเทคโนโลยีที่ต้องการลำดับที่สองคือ “เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการ Server ให้ดีขึ้น” และลำดับที่สามคือ “มีการฝึกสอนที่มากขึ้น” เนื่องจากการทำ Virtualization ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ใหม่มาก และผู้ดูแลระบบจะต้องทิ้งภาพเก่าๆ ไปค่อนข้างมากในการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่นี้ “ความง่าย” จึงถือเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง

ถัดจากนั้นคือ “รองรับ Virtual Server ได้มากขึ้นต่อ Physical Server”, “มีการทำ Backup และ Recovery ที่ดีขึ้น” รวมถึง “มีการบริหารจัดการการทำงานในแต่ละองค์ประกอบร่วมกันมากขึ้น” ซึ่งแน่นอนว่าทุกข้อที่กล่าวถึงมานี้ Nutanix ได้จัดการพัฒนาและควบรวมเอาไว้ใน Complete Cluster Appliance เพียงระบบเดียวเล้ว

โซลูชั่นของ Nutanix

Nutanix ได้รวมเอา Server, Hypervisor และ Storage เข้ามาไว้ด้วยกันเป็นระบบ Scale-out Computing Platform ภายใต้ชื่อของ Nutanix Complete Box ที่มีขนาดเพียงแค่ 2U โดยในพื้นที่ 2U นั้น Nutanix ได้รวม Physical Server จำนวนถึง 4 Nodes เข้ามาไว้ด้วยกัน และจัดเก็บ Virtual Machine และ Hypervisor ไว้บนแต่ละ Node

หัวใจสำคัญที่ทำให้ Nutanix สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ คือ Nutanix Controller ที่อยู่บน Nutanix แต่ละ Node ที่ทำให้ Local Storage บนแต่ละ Node สามารถทำงานร่วมกันได้เสมือนเป็น SAN Storage ชุดเดียวกัน และรองรับความสามารถสำคัญๆ อย่าง vMotion และ DRS ของ VMware ได้อย่างสมบูรณ์

นอกจากนี้ Nutanix ยังได้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละ Node โดยการนำเทคโนโลยีที่มีความเร็วสูงสุดในเวลานี้อย่าง Fusion-IO และ Solid State Drive (SSD) มาทำ Storage Tiering ร่วมกับ SATA ทำให้ระบบ Virtualization สามารถใช้ประสิทธิภาพในระดับ Fusion-IO ที่เร็วกว่า SAN Storage มาตรฐานประมาณ 5 – 20 เท่าได้ ในพื้นที่มหาศาลระดับของ Enterprise SATA

โดยสรุปแล้ว Nutanix นั้นมี Feature ดังต่อไปนี้

  • Command Center: ระบบ Web-based Management สำหรับบริหารจัดการทั้ง Compute และ Storage ในหน้าจอเดียวกัน
  • Cluster และ Data Replication ที่ทำทั้งในระดับของ Disk Failover และ Node Failover โดยที่ยังไม่ต้องมีลิขสิทธิ์ในระดับสูงของ VMware
  • Heat-Optimized Tiering สำหรับการกำหนด IO สำหรับแต่ละ Image ให้แตกต่างกันตามการใช้งานของข้อมูลแต่ละส่วน
  • สนับสนุนการทำ Snapshot และ Point-in-Time Copies สำหรับการทำ Quick Recovery
  • มีความสามารถในการ Clone VM Image ระดับสูงในลักษณะ Writable ทั้งสำหรับการ Clone Production Server และการสร้าง Virtual Desktop Infrastructure อย่างรวดเร็ว
  • สนับสนุนทุกความสามารถสำคัญของ VMware ไม่ว่าจะเป็น vMotion, Dynamic Resource Scheduler (DRS), High Availability Failover หรือแม้แต่ Server Migration

ซึ่งทาง ESG Lab เองก็ออกมารับประกันถึงความง่ายในการใช้งานของ Nutanix จากการทดสอบจริงเป็นเวลา 2 วันที่ San Jose, California

ความง่ายในการบริหารจัดการ และความสามารถในการจัดการข้อมูลในระดับ Enterprise

ESG Lab ได้เริ่มทำการทดสอบโดยใช้ Nutanix เพียงแค่ 3 Node เพื่อจะได้ทำการเพิ่ม Node เข้าไปได้ในอนาคต โดยเริ่มต้นจากการเปิดตัว Web Browser ขึ้นมาเพื่อเรียกใช้งาน Command Center ก่อน ซึ่งใน Command Center นี้กจะแสดง Nutanix Node โดยแยกในส่วนของการบริหารจัดการ Storage ไว้ทางด้านซ้าย และการบริหารจัดการ Compute เอาไว้ทางด้านขวาดังแสดงในภาพ

หน้าจอบริหารจัดการของ Nutanix คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

จากนั้นทาง ESG Lab ได้ทำการสร้าง vDisk สำหรับเตรียมติดตั้ง Linux ซึ่งก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็วในการกรอกฟอร์มเพียง 4 บรรทัด

สามารถสร้าง vDisk ได้อย่างง่ายๆ ในหน้าจอเดียว คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

จากนั้นก็เป็นการทดสอบการ Clone โดยทาง ESG ได้ทำการ Writable Clone ตัว Windows 7 ขึ้นมา 20 ชุด และ Ubuntu อีก 5 ชุด ซึ่งทั้งบน vSphere และ Command Center เองก็เห็นตัว Image เหล่านี้จำนวนเท่ากัน

สามารถ Clone Image จำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

จากนั้นทาง ESG Lab ได้ทำการเพิ่ม Nutanix Node เข้าไปอีก 1 Node ทำให้ในหน้าจอของ Command Center มองเห็น Nutanix Node เพิ่มขึ้นจาก 3 Node รวมเป็น 4 Node

จำลองการเพิ่ม Nutanix Node คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

ต่อมา ESG Lab ได้ทำการทดสอบการย้าย Virtual Image ระหว่าง Physical Server 2 Node ซึ่งสามารถทำสำเร็จได้ภายในเวลาไม่ถึง 1 นาที

ผลการทดสอบการย้าย VM ระหว่าง Physical คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

และสำหรับการทดสอบ Dynamic Resource Scheduling ทาง ESG Lab ได้สร้าง Image ที่กิน CPU 100% ขึ้นมา ซึ่งเมื่อ Image นี้ถูกเปิดใช้งาน Image อื่นๆ ที่มีอยู่เดิมก็ทำการย้ายตัวเองไปยัง Physical Server อื่นด้วยการ vMotion หนีไปทันที

ทำงานร่วมกับ VMware Dynamic Resource Scheduler ได้อย่างสวยงาม คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

ส่วนที่เร้าใจที่สุดมักจะตกเป็นเรื่องการทดสอบ High Availability ซึ่งทาง ESG Lab ก็ไม่รอช้า จัดการปิด Physical Node ลงไป 1 ชุด ซึ่งมี 5 Virtual Image ทำงานอยู่ ซึ่งบนหน้าจอของ vCenterก็มองเห็นการ Migrate ของ 5 Image นั้นทันทีเช่นกัน

ทดสอบการทำ HA คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

ถัดมาคือการทดสอบ Snapshot โดยการตรวจสอบหาไฟล์ที่เพิ่งสร้างขึ้นมาใน Image ที่ทำการ Clone ไป และย้อน Snapshot กลับมา ซึ่ง Nutanix ก็ผ่านการทดสอบเหล่านี้อย่างสวยงาม

Snapshot ของ Nutanix คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

ข้อสรุปของ Nutanix

Nutanix มีแนวโน้มที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับระบบ Virtualization ขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างมาก ทั้งในแง่ของ CapEx และ OpEx เนื่องจากการตัดปัญหาเรื่องการสร้าง SAN Storage Networking ใน Data Center รวมถึงการขยายระบบเพิ่มเติมในอนาคต อีกทั้งยังสามารถบริหารจัดการได้อย่างง่ายดาย โดยสนับสนุนทุกความสามารถสำคัญของ VMware อย่างครบถ้วน

โดยรวมแล้ว Nutanix ถือว่ามีความสามารถในระดับ Enterprise ที่ครอบคลุมรอบด้าน อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพสูง, มีความสเถียรสูงสำหรับการทำ Virtualization อีกทั้งยังง่ายต่อการใช้งาน โดยทาง ESG Lab ใช้เวลาเพียงไม่ถึง 30 นาที ในการทำให้ Image แรกบน Nutanix ถูกติดตั้งจนเสร็จและใช้งานได้ (ประหยัดเวลาทั้งการติดตั้งขึ้น Rack, การ Initialize และสร้าง LUN บน SAN Storage, การติดตั้ง VMware และเชื่อม VMware เข้ากับ SAN Storage)

ความเป็นจริงที่น่าคิด

การมาของ Nutanix จะต้องฝ่าฟันกับผู้ผลิต Storage รายต่างๆ อย่างแน่นอน เพราะผู้ผลิต Storage รายต่างๆ โดยเฉพาะรายใหญ่นั้นได้เดินไปคนละเส้นทางกับ Nutanix โดยการพยายามขยายระบบ Storage ให้ใหญ่ขึ้น, มี IO มากขึ้น และต้องใช้ Network ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น

แต่ในขณะเดียวกันด้วยเสียงจากผู้ใช้งาน ดูเหมือนแนวคิดของ Nutanix จะมาในทางที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากกว่า โดยจากการสำรวจเพิ่มเติม ผู้ใช้งานจำนวนถึง 44% ต้องการความง่ายในการบริหารจัดการร่วมกันระหว่าง Server และ Storage ในขณะที่อีก 37% ต้องการความรวดเร็วในการ Deploy ระบบ และอีก 35% ต้องการให้ค่า Total Cost of Ownership (TCO) คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น โดยอีก 33% นั้นต้องการประหยัดเวลาและลดความซับซ้อนในการเชื่อมต่อระหว่าง Server และ Storage นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังต้องการแก้ปัญหาประเด็นเรื่องความเข้ากันได้ของ Hardware, ประสิทธิภาพในการทำงาน และบริการที่ดีอีกด้วย

Nutanix ได้ทำให้การใช้งาน Virtualization เป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว, ง่าย, ประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังแก้ไขปัญหาเรื่องความเข้ากันได้ของ Hardware และผู้ใช้งานเองก็สามารถซื้อบริการง่ายๆ ได้จากผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายเพียงรายเดียว สำหรับระบบทั้งหมดอีกด้วย และที่เหนืออื่นใดคือการที่ Nutanix รองรับทุกความสามารถที่ผู้ใช้งานต้องการจาก VMware อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น vMotion, Dynamic Resource Scheduler และ HA Failover อีกด้วย

ESG ได้แนะนำให้ Nutanix สนับสนุน Citrix XenServer และ Microsoft Hyper-V เพิ่มเติม เพื่อขยายฐานลูกค้าของ Nutanix ต่อไป

สุดท้ายแล้ว เทคโนโลยี Virtualization ก็จะยังคงต้องการการพัฒนาต่อยอดเพิ่มขึ้นไปอีกอย่างต่อเนื่อง วันนี้ Nutanix ได้กลายมาเป็นผู้นำแถวหน้าของ Trend ใหม่ในการยุบรวม Server และ Storage เข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์ และง่ายต่อการใช้งาน  ESG แนะนำว่าถ้าบริษัทไหนต้องการการทำ Virtualization ในระดับใหญ่และซับซ้อน  Nutanix ถือเป็นตัวเลือกเแรกๆ ที่จะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี

———-

บทความโดย Throughwave Thailand

ท่านสามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ https://www.throughwave.co.th

จัดการข้อมูลขนาดใหญ่ด้วย Apache Hadoop สำหรับองค์กร

ปัจจุบันนี้ การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่หรือที่เรียกกันว่า Big Data นั้น อาจไม่สามารถทำได้โดย SQL Database อีกต่อไป เนื่องจาก SQL Database ในปัจจุบันนี้ถูกออกแบบมาเป็นเวลานานแล้ว ในขณะที่ความต้องการการใช้ข้อมูลกลับมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จน SQL Database แบบเดิมๆ ไม่อาจรับได้ไหวอีก แนวคิดในการทำ Distributed Computing จึงเกิดขึ้นมา และ Apache Hadoop เองก็มีบทบาทในด้านนี้เป็นอย่างมาก Read more

JBOD – ทางเลือกดีๆ สำหรับ External Storage ราคาประหยัด

ในปัจจุบันนี้ความต้องการในการใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลปริมาณมาก มีมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ความต้องการของระบบ External Storage สูงตามขึ้นไป แต่ในการลงทุน SAN Storage ก็อาจมีราคาสูงเกินไป ในขณะที่การลงทุน NAS Storage ก็อาจได้ประสิทธิภาพในระดับที่ไม่เพียงพอ ทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจในการเพิ่มพื้นที่ให้กับระบบ Server ต่างๆ เช่น CCTV Server, File Server, Database Server หรือ Backup/DR Server จึงได้แก่ระบบ JBOD นั่นเอง Read more

Infortrend EonNAS กับความสามารถใหม่ Deduplication ซึ่งช่วยประหยัดพื้นที่ได้ถึง 90%

Infortrend ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Networked Storage เผยความสามารถในการทำ Deduplication ของ EonNAS 3000 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งช่วยประหยัดพื้นที่ได้สูงสุดถึง 90% โดยแบ่งตามประเภทของ Application ต่างๆ ดังนี้ Read more

Infortrend EonStor DS ได้รับ VMware Ready สำหรับ vSphere® 5

อินฟอร์เทรนด์ (Infortrend) ผู้ผลิตระบบ SAN Storage ชั้นนำ ได้ประกาศสถานะ VMware Ready™ สำหรับ SAN Storage รุ่น EonStor DS แล้ว ซึ่งสถานะ VMware Ready™ นี้ บ่งบอกถึงการผ่านการทดสอบจาก VMware อย่างสมบูรณ์แล้วนั่นเอง Read more

Infortrend ส่ง DC Power SAN Storage รุกตลาด Telco, Defence และ Oil and Gas

อินฟอร์เทรนด์ (Infortrend) เปิดฉากรุกตลาด Telco, Defence และ Oil and Gas โดยส่ง Fibre Channel SAN Storage รุ่นใหม่ EonStor DS S12F-R2840N และ EonStor DS S12F-S2840N ซึ่งติดตั้ง Redundant Power Supply แบบ DC สำหรับตลาดนี้โดยเฉพาะ ซึ่งจากเดิมลูกค้าแต่ละรายจะมีตัวเลือกของ Storage ที่ใช้งานระบบไฟฟ้าแบบ DC เพียงไม่กี่รายเท่านั้น และในวันนี้ Infortrend ก็จะเข้าร่วมแข่งขันด้วย Read more

Storage Server ทางเลือกใหม่สำหรับการจัดเก็บข้อมูล

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยี SAN Storage จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่มาแรงมาก แทบทุกองค์กรต้องมีการซื้อหามาใช้ ซึ่งส่วนนึงอาจจะเป็นเพราะแรงผลักดันจากความนิยมของ VMware ที่แนะนำให้ติดตั้งบน SAN Storage นั่นเอง แต่มาในวันนี้ทาง Throughwave Thailand ก็ขอเสนอทางเลือกในการจัดเก็บข้อมูลอีกทางหนึ่ง ซึ่งจะทำให้คุณมีอิสระในการเลือกองค์ประกอบที่เหมาะสมกับระบบที่คุณต้องการที่สุด ในราคาที่เหมาะสมที่สุด นั่นคือการนำ Server เฉพาะทางสำหรับการจัดเก็บข้อมูลมาใช้ ซึ่งมีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า Storage Server นั่นเอง Read more

Infortrend รุกหนักตลาด Media/Entertainment และ HPC ด้วย ESVA Cluster File System

Infortrend Technology ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบจัดเก็บข้อมูลแบบเครือข่าย ได้ประกาศเปิดตัวโซลูชันล่าสุด ESVA Cluster File System โดยใช้ Infortrend ESVA ให้บริการ Cluster File System ร่วมกันระหว่างเครื่องลูกข่ายที่ใช้ Windows, Mac และ Linux ทำให้เครื่องลูกข่ายหลายๆ เครื่องสามารถเข้าถึงไฟล์เดียวกันได้ในเวลาเดียวกัน โซลูชันนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับงานทางด้าน Media/Entertainment ที่ต้องมีการตัดต่อไฟล์คุณภาพสูงเป็น Workflow โดยเฉพาะ และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานประมวลผลประสิทธิภาพสูง หรือ High Performance Computing (HPC) ได้อีกด้วย Read more

เจาะลึกเทคโนโลยี Storage Virtualization สำหรับ Cloud Application (ตอนที่ 1)

ในเวลานี้ คำว่า Cloud ได้กลายมาเป็นหนึ่งในคำมาตรฐานสำหรับวงการไอทีบ้านเราไปแล้ว วันนี้เราจะมาดูกันครับ ว่าคุณสมบัติของ Storage ที่เหมาะสมจะนำมาใช้ในระบบ Cloud Application ต่างๆ จะมีอะไรกันบ้าง

หัวใจของคำว่า Cloud

คำว่า Cloud หรือที่บางครั้งมักจะถูกเรียกเป็นภาษาไทยว่า กลุ่มเมฆ นั้น จริงๆ แล้วไม่ใช่คำที่เกิดมาจากทาง Technology แต่เกิดมาจากการตลาดเสียมากกว่า โดยในความหมายรวมๆ นั้น ไม่ว่าจะนำคำว่า Cloud ไปใช้กับอะไรก็ตาม มักจะหมายถึง ”การที่เทคโนโลยีนั้นๆ สามารถเพิ่มขยายได้แบบทันทีและง่ายดาย เพื่อรองรับต่อการปริมาณความต้องการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น” ยกตัวอย่างเช่น Cloud Application ก็จะหมายถึง “Application ที่สามารถขยายระบบเพื่อรองรับปริมาณผู้ใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น” ดังนั้นเราจึงสามารถกล่าวได้ว่า หัวใจของคำว่า Cloud ก็คือ “มีความสามารถในการขยายได้อย่างง่ายดาย” นั่นเอง

Storage สำหรับ Cloud Application

เมื่อเรารู้แล้วว่าหัวใจของคำว่า Cloud คืออะไร และ Cloud Application คืออะไร คราวนี้เรามาลองดูกันบ้าง ว่าในเทคโนโลยีทางด้านการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Storage หรือ Database ก็ตาม จะมีทางเลือกไหนที่สามารถตอบโจทย์ของคำว่า Cloud ได้บ้าง

1. Scale-Up and Scale-Out SAN Storage

สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ SAN Storage เป็นฐานสำหรับระบบงานของตัวเอง SAN Storage นั้นๆ ควรจะสนับสนุนการขยายพื้นที่และประสิทธิภาพได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสมกับค่าใช้จ่าย และความต้องการของระบบในเวลานั้นๆ โดยในการใช้งาน SAN Storage นั้น คีย์เวิร์ดหลักๆ ที่มักจะพบก็จะหนีไม่พ้นการขยายแบบ Scale Up และ Scale Out นั่นเอง

Scale Up: แนวคิดของการขยายแบบ Scale Up คือการขยายระบบ Storage เดิมที่มีอยู่ผ่าน Expansion Port ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Fibre Channel 4Gbps หรือ SAS2 6Gbps โดยวัตถุประสงค์หลักๆ คือการเพิ่มขยายพื้นที่เป็นหลัก ไม่ใช่การแก้ปัญหาเรื่องคอขวดของระบบ หรือปัญหาทงด้านประสิทธิภาพ ดังนั้นข้อดีของการขยายระบบ Storage แบบ Scale Up คือสามารถเพิ่มพื้นที่ของระบบได้ ในงบประมาณที่ไม่สูงนั่นเอง
Scale Out: แนวคิดของการขยายแบบ Scale Out คือการขยายระบบ Storage ในระดับ Logical โดยการเพิ่ม Storage Controller ให้ทำงานร่วมกันผ่าน SAN Networking ซึ่งจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปจากการขยายแบบ Scale Up คือการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ Storage นั่นเอง เนื่องจากการขยายระบบแบบ Scale Out นี้ จะทำให้ระบบ Storage ของเรามี Host Interface สำหรับเชื่อมต่อกับเครื่อง Server มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มขนาดของ Cache ในระบบให้มากขึ้นอีกด้วย แต่การขยายระบบแบบ Scale Out นี้จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพราะจริงๆ แล้วมันคือการลงทุนซื้อ Storage Hardware ใหม่หมดอีกชุดนั่นเอง

สำหรับข้อเสียของการใช้ SAN Storage สำหรับระบบงานแบบ Cloud ก็คือ SAN Storage ไม่สามารถ Share File ระหว่างหลายๆ Server เข้าด้วยกันได้ ซึ่งเราอาจจะต้องพึ่งพาความสามารถของ File System ต่างๆ ในการทำหน้าที่นี้ และทำให้การติดตั้งระบบมีความยุ่งยากมากขึ้น หรือต้องยึดติดกับบางแบรนด์มากขึ้นนั่นเอง

2. Parallel NAS Storage

สำหรับผู้ที่ต้องการความสามารถในการ Share File ระหว่างหลายๆ Server พร้อมๆ กัน ซึ่ง SAN Storage ไม่สามารถทำได้ ทางเลือกที่ดีสำหรับกรณีนี้คือการหนีมาใช้ NAS Storage นั่นเอง แต่ NAS Storage ทั่วๆ ไปที่เราใช้กันนั้น จริงๆ แล้วไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับระบบงานระดับ Cloud เลย เนื่องจาก NAS มักจะมีปัญหาทางด้านประสิทธิภาพ และเกิดคอขวดของระบบได้ง่ายมาก ดังนั้น Parallel NAS Storage จึงได้เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานี้ และตอบโจทย์ของ Cloud Application อย่างเต็มตัว

สิ่งที่ Parallel NAS Storage ทำนั้น มีแนวคิดคล้ายๆ กับการทำงานของ Bit Torrent คือให้ NAS Storage หลายๆ ชุด ช่วยกันส่งข้อมูลมาให้ผู้ใช้งานในลักษณะ Parallel เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด, ได้ปริมาณ Cache สูงสุด, ได้ Throughput สูงสุด และได้ Redundancy Level ที่สูงสุดนั่นเอง โดย Parallel NAS Storage นี้ มักจะถูกสร้างมาให้เป็น Object-based Storage ด้วย
ในการลงทุนกับ NAS ประเภทนี้ ในระยะเริ่มต้นอาจจะถือว่ามีราคาค่อนข้างสูง แต่เมื่อเทียบค่าใช้จ่ายและความง่ายในภาพรวม ตั้งแต่เรื่องการติดตั้ง การดูแลระบบ และความง่ายในการใช้งานแล้ว ถือว่าเป็น Storage ที่เหมาะสมกับ Cloud Application ที่ต้องการ Server หลักพันจนถึงหลักหมื่นเครื่องได้เลย

3. NoSQL

สำหรับเทคโนโลยี NoSQL ที่กำลังมาแรงมากในช่วงนี้ จริงๆ แล้วก็จัดได้ว่าน่าจะได้กลายเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานในการ Implement ระบบขนาดใหญ่ได้อย่างไม่ยากนัก โดย NoSQL เองเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาคอขวดของระบบ Database และมีความสามารถในการรองรับงานเฉพาะทางที่สูงกว่า SQL มาก โดยทั่วๆ ไปแล้ว NoSQL เกือบทุกตัวจะสามารถทำ Replication และการทำ Sharding ได้ เพื่อให้เราสามารถสร้างระบบฐานข้อมูลแบบ Distributed และรองรับการ Scale Out ในระดับของ Application ฐานข้อมูลได้อย่างไม่ยากเย็นนัก

ข้อดีของ NoSQL ก็คือเรื่องของประสิทธิภาพในการรับโหลดจากผู้ใช้งานจำนวนมากตั้งแต่หลายหมื่นไปจนถึงหลายล้านคนพร้อมๆ กัน ซึ่งบริการบน Cloud ใหญ่ๆ เกือบทั้งหมดที่เราใช้ก็มักจะเป็น NoSQL ทั้งสิ้น แต่ข้อเสียหลักๆ ก็คงเป็นเรื่องของการรับประกันและสนับสนุนเทคโนโลยีเหล่านี้ในบ้านเรานั่นเอง เนื่องจากยังไม่มีเจ้าไหนที่เข้ามาให้บริการในลักษณะ Commercial มากนัก และผู้ให้บริการ Cloud ใหญ่ๆ ก็มักจะพัฒนาระบบ NoSQL ของตัวเองขึ้นมาใช้กันเป็นส่วนมาก

จริงๆ แล้วถ้าพูดถึงเรื่องของคำว่า Cloud กับคำว่า Storage นั้น ยังมีอีกหลายแง่มุมให้เราพิจารณากันอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Cloud Storage, Cloud Tiering และอื่นๆ อีกมากมาย ก็คงต้องขอหยิบยกไว้พูดกันในคราวหน้า สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลากันไปก่อน สวัสดีครับ

Supermicro ส่ง 10GbE Server รุกตลาด Next Generation Data Center

ซูเปอร์ไมโคร (Supermicro) ผู้ผลิตเซิฟเวอร์รายใหญ่จากอเมริกา ส่ง Supermicro 10GbE Systems ระบบเซิฟเวอร์ประสิทธิภาพสูงสำหรับ Intel Xeon 5600/5500 พร้อมอินเทอร์เฟสแบบ 10GbE 2 พอร์ต และ 1GbE 2 พอร์ต เป็น Mainstream สำหรับ Virtualization, Cloud Cluster และ Server Storage เจาะตลาด Enterprise และ ISP โดยเฉพาะ Read more