ระบบ Time Synchronization สำหรับธุรกิจบริการสาธารณสุข และโรงพยาบาล
เพื่อปรับปรุงการบริการทางด้านสาธารณสุขให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้งานทางด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบบริการผู้ป่วย ระบบยา การแจ้งเตือนผู้ป่วย ระบบประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ภายใน ระบบงานประชุม และอื่นๆ อีกมากมาย โดยระบบ Time Synchronization เองก็ได้เข้ามามีบทบาทที่น่าสนใจด้วยกันหลายประการ ดังนี้
1. ปรับเวลาทั้งโรงพยาบาลให้ตรงกัน เพื่อเพิ่มความถูกต้องแม่นยำในการให้บริการสาธารณสุข
เวลาถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการตรวจผู้ป่วยตามเวลา การให้ยาผู้ป่วยตามรอบการรักษา หรือการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินที่ทุกวินาทีส่งผลต่อความเป็นความตาย การปรับเวลาบนนาฬิกาทั้งหมดให้ตรงกันทั้งโรงพยาบาล จะทำให้การบริการรักษาพยาบาลและติดต่อสื่อสารระหว่างแผนกเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ การตรวจจับและวัดเวลาได้อย่างแม่นยำยังเป็นปัจจัยหลักในการทำระบบ Quality Management สำหรับการรักษาพยาบาลได้ ตัวอย่างหนึ่งคือการปรับปรุงกระบวนการการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ ยิ่งใช้เวลาน้อยโอกาสประสบความสำเร็จก็จะยิ่งสูง การเก็บข้อมูลรักษาพยาบาลเพื่อทำการปรับปรุงกระบวนการและชี้วัดจึงต้องอาศัยระบบเวลาที่เที่ยงตรงกันทั้งโรงพยาบาล การประยุกต์นำระบบ Time Synchronization Appliance หรือ Time Server มาจ่ายเวลาให้กับนาฬิกาหรืออุปกรณ์ต่างๆ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่คุ้มค่า เพราะทำให้เวลาของระบบทุกอย่างตรงกันหมดได้ภายในอุปกรณ์เดียว
อีกกรณีศึกษาหนึ่งที่น่าสนใจ คือการให้บริการสาธารณสุขแบบ Premium สำหรับโรงพยาบาลเอกชน ที่มีการเก็บค่ารักษาพยาบาลมากกว่าปกติ แต่ก็จะได้รับบริการรวดเร็วกว่า และรับประกันเวลาด้วยว่าผู้มาเข้ารับบริการจะได้รับบริการภายในช่วงเวลาที่กำหนดอย่างแน่นอน ซึ่งระบบ Time Synchronization นี้ก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญนธุรกิจลักษณะนี้เช่นกัน
2. ปรับเวลาของระบบ IT ทั้งหมดให้ตรงกัน เพื่อให้ข้อมูลของระบบ IT ในโรงพยาบาลสามารถสอบเทียบข้ามกันได้
สำหรับหลายๆ โรงพยาบาลที่ได้มีการนำซอฟต์แวร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Hospital Information System (HIS), Electrical Health Record (EHR), ระบบห้องยา, ระบบการเงิน, ระบบบัญชี และระบบอื่นๆ มาใช้งานตามส่วนต่างๆ นั้น เพื่อให้การนำข้อมูลของแต่ละระบบมาใช้งานร่วมกันเช่น การตรวจสอบการรักษาพยาบาล, การออกรายงาน, การสืบค้นข้อมูลต่างๆ ย้อนหลัง และอื่นๆ สิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือการทำให้ระบบงานทั้งหมดที่ทำงานอยู่บน IT จะต้องอ้างอิงจากระบบ Time Synchronization Appliance เดียวกัน เพื่อให้ข้อมูลทั้งหมดที่บันทึกถูกอ้างอิงในช่วงเวลาที่ต่อเนื่องกัน และนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประมวลผลได้อย่างไม่ผิดพลาด
ในมุมกลับกัน ถ้าหากต่างระบบต่างอ้างอิงเวลาจากแหล่งที่แตกต่างกัน ข้อมูลทั้งหมดก็จะขาดความเชื่อถือด้านเวลาว่าเหตุการณ์ใดเกิดก่อนหรือเกิดหลัง และสุดท้ายก็จะไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาทำประโยชน์ใดๆ หรืออ้างอิงในทางกฎหมายได้เลย
3. ปรับเวลาของอุปกรณ์เครือข่ายทั้งหมดให้ตรงกัน เพื่อให้การรักษาความปลอดภัยเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์
เป็นที่เข้าใจกันดีว่าถ้าหากธุรกิจของโรงพยาบาลถูกผูกเข้ากับซอฟต์แวร์ HIS, EHR และอื่นๆ แล้ว ระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่ายเองก็เป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยเหลือให้ระบบเครือข่ายสามารถทำงานได้อย่างปกติ และเข้าถึงระบบงานต่างๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานได้อยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็น Firewall, IPS, Network Access Control, BYOD, Wireless Security, Malware Protection และอื่นๆ อีกมากมาย การทำให้ระบบรักษาความปลอดภัยเหล่านี้อ้างอิงกับ Time Synchronization Appliance เดียวได้ และทำให้ข้อมูล Log จากอุปกรณ์ทั้งหมดนี้ถูกจัดเก็บอยู่บน Log Server หรือ SIEM ด้วยฐานเวลาเดียวกันทั้งหมด ก็จะทำให้การดูแลรักษาความปลอดภัยระบบเครือข่าย และติดตามค้นหาเหตุการณ์ทางด้านความปลอดภัยที่เกิดขึ้นย้อนหลังเป็นไปได้อย่างถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น
สำหรับผู้ที่สนใจระบบ Time Synchronization Appliance สามารถติดต่อบริษัท ทรูเวฟ (ประเทศไทย) ได้เลยครับ
เกี่ยวกับ Wavify TimeNX
Wavify TimeNX เป็น Unified Time Synchronization Appliance ที่สามารถให้บริการประสานเวลาสำหรับอุปกรณ์ในเครือข่ายได้ครอบคลุมทุกโปรโตคอล ทั้ง NTP, SNTP และ PTP ได้ภายในอุปกรณ์เดียว โดยสามารถเชื่อมต่อสัญญาณเวลาจากดาวเทียมผ่านทาง GPS เพื่อให้เวลาอ้างอิงมีความแม่นยำสูงสุดอยู่เสมอ โดยมีความสามารถดังนี้
- 1U rack mount
- สนับสนุน NTP, SNTP, PTP Protocol
- รองรับเครื่องลูกข่ายได้ตั้งแต่ 1,000 – 12,000 เครื่องต่อวินาที
- รองรับ GPS Stratum-1 และ Peering Stratum-2
- มี Firewall, DDoS Protection, MD5 Authentication