Backup Technology มี Hardware อะไรดีๆ ให้ใช้บ้าง?

ทุกวันนี้ การเก็บรักษาข้อมูลเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดของระบบงาน IT  เนื่องจากในการทำธุรกิจทุกวันนี้ “ข้อมูล” ถือว่าเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางและขับเคลื่อนธุรกิจในแต่ละวันๆ แต่ในขณะเดียวกันถ้าข้อมูลเหล่านี้เกิดสูญหายไปบางส่วน หรือสูญหายหมดสิ้นอย่างถาวร ก็อาจนำมาซึ่งหายนะของธุรกิจได้ ดังนั้นการนำ Backup Technology เข้ามาใช้ในการสำรองข้อมูลอีกชั้นหนึ่ง จึงถือเป็นวิธีการมาตรฐานในการเก็บรักษาข้อมูลขององค์กรในปัจจุบัน แต่ Hardware ที่สามารถนำมาใช้ได้ใน Backup Technology เองก็มีหลากหลายรูปแบบ วันนี้เราจะมาลองดูกันนะครับว่าแต่ละแบบเป็นอย่างไรบ้าง และมีข้อดีข้อเสียอย่างไร Read more

5 ปัญหาทางด้าน IT ที่พบกันบ่อยที่สุดในองค์กร สรุปจากแบบสอบถามทรูเวฟ

ต่อเนื่องกันมาจาก “สรุปแบบสอบถาม IT Trend ถัดไปในองค์กรคุณเป็นเทคโนโลยีทางด้านไหน” คราวนี้เรามาลองดูผลสำรวจในจดหมายข่าวฉบับที่ 3 กันเช่นเคยนะครับ แต่คราวนี้เราจะมาเจาะลึกกันในประเด็นของ “ปัญหาทางด้าน IT ที่พบบ่อยที่สุดในองค์กรคืออะไร” ครับ ผลสำรวจจะเป็นยังไง มาดูกันครับ

ส่วนหนึ่งจากผู้ตอบแบบสอบถาม

Read more

สรุปแบบสอบถาม IT Trend ถัดไปในองค์กรคุณเป็นเทคโนโลยีทางด้านไหน?

หลังจากที่จดหมายข่าวฉบับที่ 3 ถูกส่งออกไปหาเหล่าพาร์ทเนอร์และลูกค้าของเรา และได้มีเสียงตอบรับมากมายในแบบสอบถามประจำฉบับเพื่อชิงรางวัล “บัตร Starbuck” กันมาเยอะมาก จนทาง Throughwave Thailand ต้องเพิ่มจำนวนรางวัลให้กับผู้ที่มาตอบแบบสอบถามของเรากันไป และส่ง Email เพื่อติดต่อมอบของรางวัลให้ไปแล้วนั้น ในจดหมายข่าวฉบับที่ 4 นี้เราก็จะมาสรุปให้ทุกท่านที่กรุณาช่วยตอบแบบสอบถามให้เรากันครับ ว่าในภาพรวมของวงการ IT ไทยเราตอนนี้มีการใช้เทคโนโลยีอะไรกันอยู่บ้าง และอนาคตถัดไปจะเป็นเทคโนโลยีอะไร เรามาดูกันเลยครับ Read more

เจาะลึกเทคโนโลยี Storage Virtualization สำหรับ Cloud Application (ตอนที่ 1)

ในเวลานี้ คำว่า Cloud ได้กลายมาเป็นหนึ่งในคำมาตรฐานสำหรับวงการไอทีบ้านเราไปแล้ว วันนี้เราจะมาดูกันครับ ว่าคุณสมบัติของ Storage ที่เหมาะสมจะนำมาใช้ในระบบ Cloud Application ต่างๆ จะมีอะไรกันบ้าง

หัวใจของคำว่า Cloud

คำว่า Cloud หรือที่บางครั้งมักจะถูกเรียกเป็นภาษาไทยว่า กลุ่มเมฆ นั้น จริงๆ แล้วไม่ใช่คำที่เกิดมาจากทาง Technology แต่เกิดมาจากการตลาดเสียมากกว่า โดยในความหมายรวมๆ นั้น ไม่ว่าจะนำคำว่า Cloud ไปใช้กับอะไรก็ตาม มักจะหมายถึง ”การที่เทคโนโลยีนั้นๆ สามารถเพิ่มขยายได้แบบทันทีและง่ายดาย เพื่อรองรับต่อการปริมาณความต้องการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น” ยกตัวอย่างเช่น Cloud Application ก็จะหมายถึง “Application ที่สามารถขยายระบบเพื่อรองรับปริมาณผู้ใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น” ดังนั้นเราจึงสามารถกล่าวได้ว่า หัวใจของคำว่า Cloud ก็คือ “มีความสามารถในการขยายได้อย่างง่ายดาย” นั่นเอง

Storage สำหรับ Cloud Application

เมื่อเรารู้แล้วว่าหัวใจของคำว่า Cloud คืออะไร และ Cloud Application คืออะไร คราวนี้เรามาลองดูกันบ้าง ว่าในเทคโนโลยีทางด้านการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Storage หรือ Database ก็ตาม จะมีทางเลือกไหนที่สามารถตอบโจทย์ของคำว่า Cloud ได้บ้าง

1. Scale-Up and Scale-Out SAN Storage

สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ SAN Storage เป็นฐานสำหรับระบบงานของตัวเอง SAN Storage นั้นๆ ควรจะสนับสนุนการขยายพื้นที่และประสิทธิภาพได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสมกับค่าใช้จ่าย และความต้องการของระบบในเวลานั้นๆ โดยในการใช้งาน SAN Storage นั้น คีย์เวิร์ดหลักๆ ที่มักจะพบก็จะหนีไม่พ้นการขยายแบบ Scale Up และ Scale Out นั่นเอง

Scale Up: แนวคิดของการขยายแบบ Scale Up คือการขยายระบบ Storage เดิมที่มีอยู่ผ่าน Expansion Port ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Fibre Channel 4Gbps หรือ SAS2 6Gbps โดยวัตถุประสงค์หลักๆ คือการเพิ่มขยายพื้นที่เป็นหลัก ไม่ใช่การแก้ปัญหาเรื่องคอขวดของระบบ หรือปัญหาทงด้านประสิทธิภาพ ดังนั้นข้อดีของการขยายระบบ Storage แบบ Scale Up คือสามารถเพิ่มพื้นที่ของระบบได้ ในงบประมาณที่ไม่สูงนั่นเอง
Scale Out: แนวคิดของการขยายแบบ Scale Out คือการขยายระบบ Storage ในระดับ Logical โดยการเพิ่ม Storage Controller ให้ทำงานร่วมกันผ่าน SAN Networking ซึ่งจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปจากการขยายแบบ Scale Up คือการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ Storage นั่นเอง เนื่องจากการขยายระบบแบบ Scale Out นี้ จะทำให้ระบบ Storage ของเรามี Host Interface สำหรับเชื่อมต่อกับเครื่อง Server มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มขนาดของ Cache ในระบบให้มากขึ้นอีกด้วย แต่การขยายระบบแบบ Scale Out นี้จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพราะจริงๆ แล้วมันคือการลงทุนซื้อ Storage Hardware ใหม่หมดอีกชุดนั่นเอง

สำหรับข้อเสียของการใช้ SAN Storage สำหรับระบบงานแบบ Cloud ก็คือ SAN Storage ไม่สามารถ Share File ระหว่างหลายๆ Server เข้าด้วยกันได้ ซึ่งเราอาจจะต้องพึ่งพาความสามารถของ File System ต่างๆ ในการทำหน้าที่นี้ และทำให้การติดตั้งระบบมีความยุ่งยากมากขึ้น หรือต้องยึดติดกับบางแบรนด์มากขึ้นนั่นเอง

2. Parallel NAS Storage

สำหรับผู้ที่ต้องการความสามารถในการ Share File ระหว่างหลายๆ Server พร้อมๆ กัน ซึ่ง SAN Storage ไม่สามารถทำได้ ทางเลือกที่ดีสำหรับกรณีนี้คือการหนีมาใช้ NAS Storage นั่นเอง แต่ NAS Storage ทั่วๆ ไปที่เราใช้กันนั้น จริงๆ แล้วไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับระบบงานระดับ Cloud เลย เนื่องจาก NAS มักจะมีปัญหาทางด้านประสิทธิภาพ และเกิดคอขวดของระบบได้ง่ายมาก ดังนั้น Parallel NAS Storage จึงได้เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานี้ และตอบโจทย์ของ Cloud Application อย่างเต็มตัว

สิ่งที่ Parallel NAS Storage ทำนั้น มีแนวคิดคล้ายๆ กับการทำงานของ Bit Torrent คือให้ NAS Storage หลายๆ ชุด ช่วยกันส่งข้อมูลมาให้ผู้ใช้งานในลักษณะ Parallel เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด, ได้ปริมาณ Cache สูงสุด, ได้ Throughput สูงสุด และได้ Redundancy Level ที่สูงสุดนั่นเอง โดย Parallel NAS Storage นี้ มักจะถูกสร้างมาให้เป็น Object-based Storage ด้วย
ในการลงทุนกับ NAS ประเภทนี้ ในระยะเริ่มต้นอาจจะถือว่ามีราคาค่อนข้างสูง แต่เมื่อเทียบค่าใช้จ่ายและความง่ายในภาพรวม ตั้งแต่เรื่องการติดตั้ง การดูแลระบบ และความง่ายในการใช้งานแล้ว ถือว่าเป็น Storage ที่เหมาะสมกับ Cloud Application ที่ต้องการ Server หลักพันจนถึงหลักหมื่นเครื่องได้เลย

3. NoSQL

สำหรับเทคโนโลยี NoSQL ที่กำลังมาแรงมากในช่วงนี้ จริงๆ แล้วก็จัดได้ว่าน่าจะได้กลายเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานในการ Implement ระบบขนาดใหญ่ได้อย่างไม่ยากนัก โดย NoSQL เองเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาคอขวดของระบบ Database และมีความสามารถในการรองรับงานเฉพาะทางที่สูงกว่า SQL มาก โดยทั่วๆ ไปแล้ว NoSQL เกือบทุกตัวจะสามารถทำ Replication และการทำ Sharding ได้ เพื่อให้เราสามารถสร้างระบบฐานข้อมูลแบบ Distributed และรองรับการ Scale Out ในระดับของ Application ฐานข้อมูลได้อย่างไม่ยากเย็นนัก

ข้อดีของ NoSQL ก็คือเรื่องของประสิทธิภาพในการรับโหลดจากผู้ใช้งานจำนวนมากตั้งแต่หลายหมื่นไปจนถึงหลายล้านคนพร้อมๆ กัน ซึ่งบริการบน Cloud ใหญ่ๆ เกือบทั้งหมดที่เราใช้ก็มักจะเป็น NoSQL ทั้งสิ้น แต่ข้อเสียหลักๆ ก็คงเป็นเรื่องของการรับประกันและสนับสนุนเทคโนโลยีเหล่านี้ในบ้านเรานั่นเอง เนื่องจากยังไม่มีเจ้าไหนที่เข้ามาให้บริการในลักษณะ Commercial มากนัก และผู้ให้บริการ Cloud ใหญ่ๆ ก็มักจะพัฒนาระบบ NoSQL ของตัวเองขึ้นมาใช้กันเป็นส่วนมาก

จริงๆ แล้วถ้าพูดถึงเรื่องของคำว่า Cloud กับคำว่า Storage นั้น ยังมีอีกหลายแง่มุมให้เราพิจารณากันอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Cloud Storage, Cloud Tiering และอื่นๆ อีกมากมาย ก็คงต้องขอหยิบยกไว้พูดกันในคราวหน้า สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลากันไปก่อน สวัสดีครับ

Datacenter ระดับโลก เค้าใช้อุปกรณ์อะไรกัน ?

เคยสงสัยกันไหมครับว่า พวก Datacenter ระดับโลกเค้าใช้อุปกรณ์อะไร ใช้ Server, Storage และ Switch ยี่ห้อไหนกัน ?
วันนี้ทรูเวฟจะพาคุณผู้อ่านลัดเลาะไปดูตาม Datacenter ใหญ่ๆ โดยแยกตามอุปกรณ์ พร้อมแล้วตามไปดูกันเลยครับ

Supermicro

Supermicro เป็นผู้ผลิต Servers รายใหญ่จากประเทศอเมริกา ก่อตั้งมาได้ประมาณ 17 ปี ที่สำนักงานใหญ่มีโรงงานประมาณ 7 โรงงานตั้งอยูุ่ที่ Silicon Valley ชื่อของแบรนด์ Supermicro ในไทย อาจยังไม่คุ้นหูเท่าใดนัก แต่ผู้อ่านทราบหรือไม่ครับว่า เจ้า Server ยี่ห้อ Supermicro นี้ กินส่วนแบ่งการตลาดในประเทศอเมริกามากกว่า 60% ขายได้มากกว่ายี่ห้อดังๆ ทุกยี่ห้อรวมกัน โดยลูกค้าของ Supermicro มีอยู่ในหลายวงการ ตัวอย่างเช่น Search Engine Provider รายยักษ์ใหญ่ ก็ใช้ Supermicro กว่า 20,000 เครื่อง เป็นเครื่องหลักโดยวางไว้ที่ Core Datacenter ในการให้บริการกับผู้ใช้งานทั่วโลก หรือตาม Lab ดังๆ โรงงานใหญ่ๆ ก็ใช้ Supermicro กว่าหมื่นเครื่องเช่นเดียวกัน

จุดเด่นของ Supermicro
Supermicro ขึ้นชื่อในเรื่องของประสิทธิภาพการทำงานที่รวดเร็ว แข็งแกร่ง รองรับการทำงานหนักติดต่อกันได้อย่างสบาย ด้วยเทคโนโลยีเฉพาะตัว โดยเมื่อเร็วๆนี้ได้ส่ง Twin Servers รุกตลาด Next Generation Data Center สำหรับลูกค้ากลุ่ม ISP โดยมีคุณสมบัติพิเศษสามารถติดตั้ง Server แบบ Hot Swap ที่มีหน่วยประมวลผลจาก Intel หรือ AMD 2 ชุด, หน่วยความจำ 192GB พร้อมเชื่อมต่อ Storage ภายนอกได้ ทั้งหมด 4 Server ภายในพื้นที่เพียง 2U สนับสนุนระบบ Virtualization อย่างเต็มตัว และล่าสุด Supermicro เปิดตัวโซลูชั่นส์ใหม่ที่มีชื่อว่า “Micro Cloud SuperServers” เอาใจลูกค้ากลุ่ม Web Hosting และ SME โดยเฉพาะ ด้วยราคาที่จัดอยู่ในเกณฑ์ย่อมเยา และขนาดเครื่องเพียง 3U แต่สามารถใส่ Server ได้ถึง 8 Servers ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ภายในแบบ SATA3  ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ด้วยความเร็ว 6 Gbps ได้ 2 ชุดต่อ 1 Server

นอกเหนือจากเรื่องประสิทธิภาพที่แข็งแกร่ง, มี Reference Sites ระดับ Datacenter ใหญ่ๆของโลกแล้ว Supermicro มีบริการ Services ในระดับ 5×8, 7×24 และ Spare Part พร้อมให้บริการทั่วประเทศไทย

Force10

Switch Force10 เป็น Switch Backbone ให้กับ Datecenter ระดับโลกมากมาย อาทิเช่น สำนักวิจัย CERN ใช้ Switch Force10 10 GbE กว่าร้อยเครื่อง ให้บริการนักวิทยาศาตร์ใช้งานทำวิจัยกว่า 7,000 คน ส่งข้อมูลถึง 15 Petabytes/ปี หรือ Facebook ที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้ ก็ใช้ Switch Force10 เป็น Core switch รองรับผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 500 ล้านคน โดยทาง Facebook ได้กล่าวไว้ว่า “The Force10 gear is pretty much bullet proof …the boxes just run” ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า Switch Force10 แค่วางตั้งทิ้งไว้ ก็รองรับปริมาณการใช้งานมหาศาล และมีความเสถียรเป็นที่สุด

นอกจาก CERN และ Facebook แล้วยังมี Datacenter ระดับโลกอื่นๆที่เลือกใช้ Force10 เป็น Core Switch อีก เช่น Yahoo, Apple, Adobe, American Express, Bloomberg, Baidu, Youtube, NASA ฯลฯ

จุดเด่นของ Force10
ถ้าดูจาก Reference Sites ด้านบนแล้ว ถือเป็นการรับประกันคุณภาพและประสิทธิภาพของ Force10 ได้มากกว่าคำพูดใดๆ Force10 ขึ้นชื่อเรื่องของความนิ่ง ความเสถียร ทนทานต่อทุกสภาพการใช้งาน และรองรับ Throughput ปริมาณมหาศาล ตัวอย่างเช่น Force10 รุ่น S4810 มีพอร์ต 10 GbE SFP+ จำนวน 48 พอร์ต และมีพอร์ต 40 GbE QSFP+ อีก 4 พอร์ต รวมแล้วมี Switching Capacity สูงถึง 1,280 Gbps ในขนาดเพียง 1U เรียกได้ว่าเป็นรุ่นใหม่ที่ทำเอาวงการ Switch สั่นสะเทือน เนื่องจาก S4810 ทำงานเป็น Core Switch ได้สบายๆ ในขนาดแค่ 1U และเมื่อนำ Switch S4810 เพียง 2 ชุด ทำงานร่วมกันแบบ Redundant โดยใช้พื้นที่เพียง 2U ก็จะทำให้องค์กรของคุณผู้อ่านสนับสนุนระบบเครือข่ายความเร็ว 10 GbE และ 40 GbE ได้เป็นแห่งแรกๆ ของภูมิภาค และเป็นการวางรากฐานที่ดีสำหรับ Data Center ในอนาคต (ปัจจุบันของ S4810 ของเริ่มขาดตลาด ถ้าจะสั่งต้องรอนิดนึงนะครับ)

และล่าสุด Force10 พึ่งเปิดตัว Series Z9000 40GbE Core Switch ซึ่งเป็น Core Switch ขนาด 2U ติดตั้งพร้อมพอร์ต 40GbE QSFP+ จำนวน 32 พอร์ต หรือใช้งานเป็นพอร์ต 10GbE SFP+ ได้สูงถึง 128 พอร์ต โดยมี Switching Capacity สูงถึง 2.5 Tbps และรองรับทั้งการทำงานแบบ Layer 2 และ Layer 3 พร้อมคุณสมบัติ Plug-n-Play และ VMware Awareness เพื่อรองรับการทำหน้าที่เป็น Cloud Computing Cores และ High Performance Computing Cores สำหรับ 2,000 – 6,000 Physical Servers และ Storages

Infortrend

Infortrend ผู้ผลิต Storage รายใหญ่ของโลก ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1993 จนถึงปัจจุบันนี้ได้ติดตั้งอุปกรณ์ Storage ไปแล้วมากกว่า 3,000,000 ยูนิต โดยมีกลุ่มลูกค้าหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่ม Enterprise, Education, Broadcast & Video Streaming ลูกค้ารายใหญ่ๆ เช่น BBC, Walt Disney, MTV, Warners Brother เป็นต้น ในประเทศไทย Storage Infortrend ก็อยู่เบื้องหลังงานถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ผ่านมา รวมถึงตามมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศก็ใช้ Storage จาก Infortrend

จุดเด่นของ Infortrend
สำหรับ Datacenter ขนาดใหญ่จะใช้ Storage แบบ Virtulization คือสามารถขยายระบบได้มากๆ และรองรับการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น ตัวอย่างเช่น Infortrend ESVA F60 Fibre Channel Storage หรือ Enterprise Scalable Virtualized Architecture Storage รุ่นล่าสุดจาก Infortrend มีสมรรถนะสูงด้วย Throughput กว่า 180,488.53 IOPS อีกทั้งยังมีความสามารถในการขยายต่อระบบทั้งแบบ Scale Up ร่วมกับ JBOD และ Scale Out เพื่อเพิ่มทั้งประสิทธิภาพด้วยการทำ Load Balancing และเพิ่มพื้นที่ของข้อมูลไปพร้อมๆ กัน โดย Infortrend ESVA F60 รองรับทั้งการทำงานร่วมกับ Hard Drive แบบ SAS, SATA และ Solid State Drive ได้สูงสุดถึง 1,344 Drives ในระบบเดียว โดยมี Host Interface ความเร็ว 8Gbps ด้วยกันถึง 8 Ports เปรียบเหมือนแถม San Switch มาให้ในตัว

Infortrend ยังคงเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้าน Storage อย่างต่อเนื่องโดย Infortrend เป็นเจ้าแรกในตลาดในการใช้ Drive Connectivity แบบ SAS2 และใช้ 8Gbps Fibre Channel เป็นเจ้าแรกในตลาด รวมถึงประกาศสนับสนุน 3TB Enterprise Hard Drives ใน Enterprise SAN Storage เป็นเจ้าแรกอีกด้วย

Infortrend ESVA F60 ได้รับรางวัล 2010 Best Products and Services Award จาก Network Product Guide

Infortrend ESVA F60

13 กรกฎาคม 2010 – Network Products Guide ซึ่งเป็นผู้นำทางด้านการค้นคว้า, วิจัย และแนะนำการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จาก Silicon Valley ได้มอบรางวัล Best Products and Services Award ให้แก่โซลูชันส์ Infortrend ESVA F60 Fibre Channel Storage ซึ่งเป็นโซลูชันส์สำหรับองค์กรที่มีความต้องการระบบ Storage ประสิทธิภาพสูง สามารถขยายระบบได้โดยไม่เกิด Downtime และมีความสามารถในการปกป้องการสูญหายของข้อมูลในแบบ Disaster Recovery Site (DR Site)

Infortrend ESVA F60 Fibre Channel Storage หรือ Enterprise Scalable Virtualized Architecture Storage เป็นผลิตภัณฑ์ล่าสุดจาก Infortrend ซึ่งมีสมรรถนะสูงด้วย Throughput กว่า 180,488.53 IOPS อีกทั้งยังมีความสามารถในการขยายต่อระบบทั้งแบบ Scale Up ร่วมกับ JBOD และ Scale Out เพื่อเพิ่มทั้งประสิทธิภาพด้วยการทำ Load Balancing และเพิ่มพื้นที่ของข้อมูลไปพร้อมๆ กัน โดย Infortrend ESVA F60 รองรับทั้งการทำงานร่วมกับ Hard Drive แบบ SAS, SATA และ Solid State Drive ได้สูงสุดถึง 1,344 Drives ในระบบเดียว โดยมี Host Interface ความเร็ว 8Gbps ด้วยกันถึง 8 Ports พร้อมทั้งความสามารถในการทำ Snapshot, Volume Copy/Mirror และ Remote Replication เพื่อรับรองความปลอดภัยของข้อมูลสำคัญสำหรับองค์กร

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมของ Infortrend ESVA นั้น คุณสามารถติดตามอ่านได้ที่ ESVA.Infortrend.com หรือดูวิดีโอบรรยายการทำงานได้ที่Gartner: Infortrend

ที่มา: Infortrend Technology