Posts

ESG Lab วิจารณ์ Nutanix: ผู้นำของ Virtualization Hardware ยุคใหม่

Enterprise Strategy Group หรือที่รู้จักกันดีในนามของ ESG Lab หนึ่งในค่ายวิพากษ์วิจารณ์ผู้ผลิตระบบ IT ด้านต่างๆ ที่จัดได้ว่าเป็นกลางที่สุด และเจาะลึกทางด้านเทคโนโลยีที่สุดเจ้าหนึ่ง ได้นำ Hardware จาก Nutanix ไปทดสอบการใช้งานจริงเมื่อเดือนสิงหาคม 2011 ที่ผ่านมา และได้เผยแพร่รายงานชิ้นนี้อย่างเปิดเผยที่เว็บไซต์ของ Nutanix ซึ่งผลการวิจารณ์นั้นค่อนข้างน่าสนใจมาก เนื่องจาก Nutanix เองก็ถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิก Hardware ในยุคใหม่ ที่ยุบรวมการทำงานของ Server และ Storage เข้าไว้ด้วยกันแบบเดียวกับที่ Google, Amazon หรือ Facebook ใช้กัน เพื่อมารองรับการทำ Virtualization สำหรับองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะ มาลองดูกันครับว่า Nutanix จะถูกวิจารณ์อย่างไรบ้าง

รู้จัก ESG Lab กันก่อน

ESG Lab นั้นจะทำการนำอุปกรณ์ IT จากผู้ผลิตรายต่างๆ ทางด้าน Storage, Data Management และ Information Security มาทำการทดสอบ และเขียนรายงานอย่างเป็นกลาง เพื่อให้ผู้ดูแลระบบได้ทำการศึกษาประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกทดสอบอุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอุปกรณ์ที่มีแนวคิดแปลกใหม่ ซึ่งนอกเหนือจากจะเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ดูแลระบบแล้ว ESG Lab ยังให้คำแนะนำกับผู้ผลิตรายต่างๆ ถึงการแข่งขันในตลาด, ฟีเจอร์ที่แนะนำให้ผู้ผลิตทำเพื่อตอบโจทย์ของตลาด รวมถึงยังให้ข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ใช้งาน และผู้ทำการทดสอบ ส่งผลให้ผู้ผลิตรายต่างๆ สามารถนำข้อติติงต่างๆ เหล่านี้ไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตนเองได้อีกด้วย

เมื่อรู้จักกันคร่าวๆ แล้วว่า ESG เป็นใคร เรามาลองดูผลการทดสอบกันต่อเลยครับ

ความท้าทายของ Server Virtualization

ESG Lab ได้เคยทำการสำรวจมาก่อนแล้วตั้งแต่ปี 2010 ถึงความท้าทายในการทำ Server Virtualization โดยทำการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง ว่าต้องการให้ผู้ผลิตแต่ละรายทำการพัฒนาเทคโนโลยีด้านไหนที่สุด ให้ตอบโจทย์กับความต้องการของการใช้งานและแก้ไขปัญหาของ Virtualization ที่มีอยู่

คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

ผลลัพธ์อันดับหนึ่งที่ได้นั้นคือประเด็นของ “การ Integrate ที่ดีขึ้นระหว่าง Server, Storage, Networking และ Virtualization Technology” ซึ่งที่ผ่านมานั้นการทำงานร่วมกันระหว่าง Server, Storage และ Networking ยังมีข้อจำกัดอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมระหว่าง Server และ Storage อย่างการใช้ Fibre Channel, iSCSI หรือ NAS ซึ่งต่างก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป รวมถึงการวางระบบเครือข่ายให้รองรับกับทั้ง Data และ Storage Networking อีกด้วย ทำให้ในการลงทุน Virtualization นั้นเรียกได้ว่าแทบจะต้องโละ Data Center เดิมที่มีอยู่ทิ้งไปเลย ตั้งแต่ส่วนของ Switch, Server และ Storage โดยค่าลิขสิทธิ์ของ Virtualization เจ้าดังๆ เองก็ถือว่าค่อนข้างสูงอยู่แล้ว

นอกจากปัญหาทางด้านการลงทุนตั้งต้นแล้ว Virtualization ยังนำมาซึ่งความยุ่งยากในการบริหารจัดการ ทำให้ในผลสำรวจของเทคโนโลยีที่ต้องการลำดับที่สองคือ “เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการ Server ให้ดีขึ้น” และลำดับที่สามคือ “มีการฝึกสอนที่มากขึ้น” เนื่องจากการทำ Virtualization ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ใหม่มาก และผู้ดูแลระบบจะต้องทิ้งภาพเก่าๆ ไปค่อนข้างมากในการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่นี้ “ความง่าย” จึงถือเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง

ถัดจากนั้นคือ “รองรับ Virtual Server ได้มากขึ้นต่อ Physical Server”, “มีการทำ Backup และ Recovery ที่ดีขึ้น” รวมถึง “มีการบริหารจัดการการทำงานในแต่ละองค์ประกอบร่วมกันมากขึ้น” ซึ่งแน่นอนว่าทุกข้อที่กล่าวถึงมานี้ Nutanix ได้จัดการพัฒนาและควบรวมเอาไว้ใน Complete Cluster Appliance เพียงระบบเดียวเล้ว

โซลูชั่นของ Nutanix

Nutanix ได้รวมเอา Server, Hypervisor และ Storage เข้ามาไว้ด้วยกันเป็นระบบ Scale-out Computing Platform ภายใต้ชื่อของ Nutanix Complete Box ที่มีขนาดเพียงแค่ 2U โดยในพื้นที่ 2U นั้น Nutanix ได้รวม Physical Server จำนวนถึง 4 Nodes เข้ามาไว้ด้วยกัน และจัดเก็บ Virtual Machine และ Hypervisor ไว้บนแต่ละ Node

หัวใจสำคัญที่ทำให้ Nutanix สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ คือ Nutanix Controller ที่อยู่บน Nutanix แต่ละ Node ที่ทำให้ Local Storage บนแต่ละ Node สามารถทำงานร่วมกันได้เสมือนเป็น SAN Storage ชุดเดียวกัน และรองรับความสามารถสำคัญๆ อย่าง vMotion และ DRS ของ VMware ได้อย่างสมบูรณ์

นอกจากนี้ Nutanix ยังได้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละ Node โดยการนำเทคโนโลยีที่มีความเร็วสูงสุดในเวลานี้อย่าง Fusion-IO และ Solid State Drive (SSD) มาทำ Storage Tiering ร่วมกับ SATA ทำให้ระบบ Virtualization สามารถใช้ประสิทธิภาพในระดับ Fusion-IO ที่เร็วกว่า SAN Storage มาตรฐานประมาณ 5 – 20 เท่าได้ ในพื้นที่มหาศาลระดับของ Enterprise SATA

โดยสรุปแล้ว Nutanix นั้นมี Feature ดังต่อไปนี้

  • Command Center: ระบบ Web-based Management สำหรับบริหารจัดการทั้ง Compute และ Storage ในหน้าจอเดียวกัน
  • Cluster และ Data Replication ที่ทำทั้งในระดับของ Disk Failover และ Node Failover โดยที่ยังไม่ต้องมีลิขสิทธิ์ในระดับสูงของ VMware
  • Heat-Optimized Tiering สำหรับการกำหนด IO สำหรับแต่ละ Image ให้แตกต่างกันตามการใช้งานของข้อมูลแต่ละส่วน
  • สนับสนุนการทำ Snapshot และ Point-in-Time Copies สำหรับการทำ Quick Recovery
  • มีความสามารถในการ Clone VM Image ระดับสูงในลักษณะ Writable ทั้งสำหรับการ Clone Production Server และการสร้าง Virtual Desktop Infrastructure อย่างรวดเร็ว
  • สนับสนุนทุกความสามารถสำคัญของ VMware ไม่ว่าจะเป็น vMotion, Dynamic Resource Scheduler (DRS), High Availability Failover หรือแม้แต่ Server Migration

ซึ่งทาง ESG Lab เองก็ออกมารับประกันถึงความง่ายในการใช้งานของ Nutanix จากการทดสอบจริงเป็นเวลา 2 วันที่ San Jose, California

ความง่ายในการบริหารจัดการ และความสามารถในการจัดการข้อมูลในระดับ Enterprise

ESG Lab ได้เริ่มทำการทดสอบโดยใช้ Nutanix เพียงแค่ 3 Node เพื่อจะได้ทำการเพิ่ม Node เข้าไปได้ในอนาคต โดยเริ่มต้นจากการเปิดตัว Web Browser ขึ้นมาเพื่อเรียกใช้งาน Command Center ก่อน ซึ่งใน Command Center นี้กจะแสดง Nutanix Node โดยแยกในส่วนของการบริหารจัดการ Storage ไว้ทางด้านซ้าย และการบริหารจัดการ Compute เอาไว้ทางด้านขวาดังแสดงในภาพ

หน้าจอบริหารจัดการของ Nutanix คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

จากนั้นทาง ESG Lab ได้ทำการสร้าง vDisk สำหรับเตรียมติดตั้ง Linux ซึ่งก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็วในการกรอกฟอร์มเพียง 4 บรรทัด

สามารถสร้าง vDisk ได้อย่างง่ายๆ ในหน้าจอเดียว คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

จากนั้นก็เป็นการทดสอบการ Clone โดยทาง ESG ได้ทำการ Writable Clone ตัว Windows 7 ขึ้นมา 20 ชุด และ Ubuntu อีก 5 ชุด ซึ่งทั้งบน vSphere และ Command Center เองก็เห็นตัว Image เหล่านี้จำนวนเท่ากัน

สามารถ Clone Image จำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

จากนั้นทาง ESG Lab ได้ทำการเพิ่ม Nutanix Node เข้าไปอีก 1 Node ทำให้ในหน้าจอของ Command Center มองเห็น Nutanix Node เพิ่มขึ้นจาก 3 Node รวมเป็น 4 Node

จำลองการเพิ่ม Nutanix Node คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

ต่อมา ESG Lab ได้ทำการทดสอบการย้าย Virtual Image ระหว่าง Physical Server 2 Node ซึ่งสามารถทำสำเร็จได้ภายในเวลาไม่ถึง 1 นาที

ผลการทดสอบการย้าย VM ระหว่าง Physical คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

และสำหรับการทดสอบ Dynamic Resource Scheduling ทาง ESG Lab ได้สร้าง Image ที่กิน CPU 100% ขึ้นมา ซึ่งเมื่อ Image นี้ถูกเปิดใช้งาน Image อื่นๆ ที่มีอยู่เดิมก็ทำการย้ายตัวเองไปยัง Physical Server อื่นด้วยการ vMotion หนีไปทันที

ทำงานร่วมกับ VMware Dynamic Resource Scheduler ได้อย่างสวยงาม คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

ส่วนที่เร้าใจที่สุดมักจะตกเป็นเรื่องการทดสอบ High Availability ซึ่งทาง ESG Lab ก็ไม่รอช้า จัดการปิด Physical Node ลงไป 1 ชุด ซึ่งมี 5 Virtual Image ทำงานอยู่ ซึ่งบนหน้าจอของ vCenterก็มองเห็นการ Migrate ของ 5 Image นั้นทันทีเช่นกัน

ทดสอบการทำ HA คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

ถัดมาคือการทดสอบ Snapshot โดยการตรวจสอบหาไฟล์ที่เพิ่งสร้างขึ้นมาใน Image ที่ทำการ Clone ไป และย้อน Snapshot กลับมา ซึ่ง Nutanix ก็ผ่านการทดสอบเหล่านี้อย่างสวยงาม

Snapshot ของ Nutanix คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม

ข้อสรุปของ Nutanix

Nutanix มีแนวโน้มที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับระบบ Virtualization ขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างมาก ทั้งในแง่ของ CapEx และ OpEx เนื่องจากการตัดปัญหาเรื่องการสร้าง SAN Storage Networking ใน Data Center รวมถึงการขยายระบบเพิ่มเติมในอนาคต อีกทั้งยังสามารถบริหารจัดการได้อย่างง่ายดาย โดยสนับสนุนทุกความสามารถสำคัญของ VMware อย่างครบถ้วน

โดยรวมแล้ว Nutanix ถือว่ามีความสามารถในระดับ Enterprise ที่ครอบคลุมรอบด้าน อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพสูง, มีความสเถียรสูงสำหรับการทำ Virtualization อีกทั้งยังง่ายต่อการใช้งาน โดยทาง ESG Lab ใช้เวลาเพียงไม่ถึง 30 นาที ในการทำให้ Image แรกบน Nutanix ถูกติดตั้งจนเสร็จและใช้งานได้ (ประหยัดเวลาทั้งการติดตั้งขึ้น Rack, การ Initialize และสร้าง LUN บน SAN Storage, การติดตั้ง VMware และเชื่อม VMware เข้ากับ SAN Storage)

ความเป็นจริงที่น่าคิด

การมาของ Nutanix จะต้องฝ่าฟันกับผู้ผลิต Storage รายต่างๆ อย่างแน่นอน เพราะผู้ผลิต Storage รายต่างๆ โดยเฉพาะรายใหญ่นั้นได้เดินไปคนละเส้นทางกับ Nutanix โดยการพยายามขยายระบบ Storage ให้ใหญ่ขึ้น, มี IO มากขึ้น และต้องใช้ Network ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น

แต่ในขณะเดียวกันด้วยเสียงจากผู้ใช้งาน ดูเหมือนแนวคิดของ Nutanix จะมาในทางที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากกว่า โดยจากการสำรวจเพิ่มเติม ผู้ใช้งานจำนวนถึง 44% ต้องการความง่ายในการบริหารจัดการร่วมกันระหว่าง Server และ Storage ในขณะที่อีก 37% ต้องการความรวดเร็วในการ Deploy ระบบ และอีก 35% ต้องการให้ค่า Total Cost of Ownership (TCO) คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น โดยอีก 33% นั้นต้องการประหยัดเวลาและลดความซับซ้อนในการเชื่อมต่อระหว่าง Server และ Storage นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังต้องการแก้ปัญหาประเด็นเรื่องความเข้ากันได้ของ Hardware, ประสิทธิภาพในการทำงาน และบริการที่ดีอีกด้วย

Nutanix ได้ทำให้การใช้งาน Virtualization เป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว, ง่าย, ประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังแก้ไขปัญหาเรื่องความเข้ากันได้ของ Hardware และผู้ใช้งานเองก็สามารถซื้อบริการง่ายๆ ได้จากผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายเพียงรายเดียว สำหรับระบบทั้งหมดอีกด้วย และที่เหนืออื่นใดคือการที่ Nutanix รองรับทุกความสามารถที่ผู้ใช้งานต้องการจาก VMware อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น vMotion, Dynamic Resource Scheduler และ HA Failover อีกด้วย

ESG ได้แนะนำให้ Nutanix สนับสนุน Citrix XenServer และ Microsoft Hyper-V เพิ่มเติม เพื่อขยายฐานลูกค้าของ Nutanix ต่อไป

สุดท้ายแล้ว เทคโนโลยี Virtualization ก็จะยังคงต้องการการพัฒนาต่อยอดเพิ่มขึ้นไปอีกอย่างต่อเนื่อง วันนี้ Nutanix ได้กลายมาเป็นผู้นำแถวหน้าของ Trend ใหม่ในการยุบรวม Server และ Storage เข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์ และง่ายต่อการใช้งาน  ESG แนะนำว่าถ้าบริษัทไหนต้องการการทำ Virtualization ในระดับใหญ่และซับซ้อน  Nutanix ถือเป็นตัวเลือกเแรกๆ ที่จะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี

———-

บทความโดย Throughwave Thailand

ท่านสามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ https://www.throughwave.co.th

สรุปแบบสอบถาม IT Trend ถัดไปในองค์กรคุณเป็นเทคโนโลยีทางด้านไหน?

หลังจากที่จดหมายข่าวฉบับที่ 3 ถูกส่งออกไปหาเหล่าพาร์ทเนอร์และลูกค้าของเรา และได้มีเสียงตอบรับมากมายในแบบสอบถามประจำฉบับเพื่อชิงรางวัล “บัตร Starbuck” กันมาเยอะมาก จนทาง Throughwave Thailand ต้องเพิ่มจำนวนรางวัลให้กับผู้ที่มาตอบแบบสอบถามของเรากันไป และส่ง Email เพื่อติดต่อมอบของรางวัลให้ไปแล้วนั้น ในจดหมายข่าวฉบับที่ 4 นี้เราก็จะมาสรุปให้ทุกท่านที่กรุณาช่วยตอบแบบสอบถามให้เรากันครับ ว่าในภาพรวมของวงการ IT ไทยเราตอนนี้มีการใช้เทคโนโลยีอะไรกันอยู่บ้าง และอนาคตถัดไปจะเป็นเทคโนโลยีอะไร เรามาดูกันเลยครับ Read more

5 เทรนด์ในอนาคตของ Next Generation Data Center

สวัสดีครับ สำหรับครั้งนี้เราจะมาดูเทรนด์ในอนาคตกันว่า Data Center ยุคถัดไป หรือที่เราเรียกกันว่า Next Generation Data Center นั้นจะเป็นอย่างไร ลองดูได้ใน 5 ข้อต่อไปนี้ครับ

1. ทุกอย่างมีขนาดเล็กลง!!!

ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เคยมีขนาดใหญ่ที่สุดอย่าง Core Switch ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 4U จนไปถึงขนาดใหญ่กว่า 20U จะสามารถมีขนาดลดลงมาเหลือ 1U – 2U ได้ในประสิทธิภาพระดับที่สูงกว่าเดิม หรือแม้กระทั่ง Server เองจากเดิมที่เคยต้องใช้ Blade Server ถึงเกือบ 10U เพื่อติดตั้ง Server 16 ชุด ในเวลานี้ขนาดได้ลดลงมาเหลือเพียง 3U แล้ว ซึ่งด้วยปริมาณเท่านี้จากเดิมที่เรามี Rack ขนาด 42U เราอาจจะสามารถมี Core Switch 2 ชุด ซึ่งเชื่อมต่อกับ Physical Server จำนวนกว่า 192 ชุดด้วยความเร็วระดับ 10Gbps – 20Gbps ได้ ซึ่งหลังจากทำ Virtualization แล้ว เราอาจจะมี Server ได้ถึงหลายร้อย หรือหลายพันเครื่องได้เลยทีเดียว! ดังนั้นใน Data Center ปัจจุบันที่มีกันอยู่นี้ อาจจะสามารถยุบรวมเหลือเพียง 1-2 Rack ก็เป็นได้

2. Redundant แบบ Virtual!!!

ไม่ใช่มีแต่ VMware หรือ Citrix เท่านั้น นับจากนี้ไป Core Switch เองก็เริ่มมีแนวทางในการทำ Redundant แบบระดับ Virtual แล้ว ทำให้เราสามารถวาง Core Switch แยกห่างออกจากกันในเชิง Physical และช่วยกันทำงานได้ รวมถึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโดยการเติม Core Switch เข้าไปในระบบได้อย่างง่ายๆ ทำให้ถัดจากนี้ไป การออกแบบ Core Switch อาจไม่ใช่การรวมศูนย์ แต่เป็นการกระจายตัว (Distributed Core Switch) ซึ่งอาจถึงขั้นนำ Core Switch ไปกระจายเป็น Top-of-Rack Switch แทน เพื่อลดความซับซ้อนในการ Wiring ลง และทำให้เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบได้ตามความต้องการ (On Demand Scalability) อีกทั้งยังทำให้สามารถใช้ความเร็วในระดับ 10/40/100Gbps ไปยัง Server หรือ Storage โดยตรงได้อีกด้วย!

3. Cloud ในระดับ Hardware!!!

ในเวลานี้เราคงจะได้ยินคำว่า Cloud มาคู่กับบริการต่างๆ มากมาย แต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งผู้ผลิต Server, Storage และ Switch ต่างนำเสนอระบบ Hardware ที่มีแนวคิดในการทำงานแบบ Cloud เพื่อรองรับ Data Center ในระดับองค์กร ไปจนถึงผู้ให้บริการ Cloud อีกด้วย โดยแนวคิดนี้จะทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถเติม Server, Storage และ Switch เข้าไปในระบบได้โดยไม่ต้องทำการตั้งค่าต่างๆ ให้ยุ่งยาก หรือใช้ Hardware ยี่ห้อเดียวกันอีกต่อไป อุปกรณ์เหล่านั้นจะทำการพูดคุยกับอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบ และลงทะเบียนตัวเองเข้าไปโดยอัตโนมัติ จากนั้นระบบจะทำการตั้งค่าตัวเองขึ้นมาทำงานร่วมกับระบบเดิมที่มีอยู่ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงมีการตั้งค่าในการทำ Redundant ให้โดยอัตโนมัติอีกด้วย ซึ่งกรณีนี้เคยมีการติดตั้งจริงกันมาแล้ว โดยสามารถเพิ่ม Cloud Switch หลายพันชุดเข้าไปใน Data Center เดิมได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น!!!

4. Switch ชุดเดียว ให้บริการได้หลายอย่าง!!!


ไม่ใช่แค่ Next Generation Firewall เท่านั้นที่ทำได้ทุกอย่างครอบจักรวาล สำหรับ Data Center เอง Switch จะกลายเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการต่างๆ แทนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการยืนยันตัวตนแบบ Single Sign-On ร่วมกับบริการ Cloud ต่างๆ, การเข้ารหัส, การปรับเปลี่ยน Network Policy แบบอัตโนมัติตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น, การติดตาม Application Performance และอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึงการที่ Switch ได้รวมเอาความสามารถในการทำตัวเป็น Ethernet Switch และ SAN Switch พร้อมๆ กัน ทำให้ต่อไปนี้การเลือกหาฮาร์ดแวร์มารองรับงานต่างๆ คงจะทำได้ครบสมบูรณ์ได้ด้วย Switch เพียงชุดเดียวก็เป็นได้

5. Standalone, Centralized, Physicalization ยังไม่ตาย

ถึงแม้สี่ข้อที่ผ่านมาจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ล้ำสมัย จนอาจจะคิดกันว่าเทคโนโลยีแบบเก่าคงจะถูกกลืนหายไปอย่างรวดเร็ว แต่ในความเป็นจริงแล้วบางระบบงานที่ต้องการประสิทธิภาพสูงๆ และไม่ต้องการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกับใครเลย เพื่อรับประกันคุณภาพของการให้บริการ หรือให้บริการผู้ใช้งานเพียงกลุ่มเล็กๆ ก็จะยังคงมีอยู่ต่อไปอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอุปกรณ์เฉพาะทางต่างๆ ที่ต้องการนำประสิทธิภาพระดับสูงสุดของ Hardware มาใช้ ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายที่สุดก็คือการเชื่อมต่อ Server กับ Storage แบบ Direct Attach Storage (DAS) นี่เอง และในหลายครั้ง การรวมกันของระบบง่ายๆ เหล่านี้ ก็อาจจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของ Cloud ได้เช่นกัน

Force10 Networks ส่ง S4810 รุกตลาด 10/40GbE Core / Top-of-Rack Switch

Force10 Networks ผู้ผลิต Data Center Switch ประสิทธิภาพสูงจากอเมริกา ตอบสนองตลาด Data Center แบบ Cloud ด้วยการประกาศเปิดตัว Switch เอนกประสงค์ประสิทธิภาพสูง S4810 โดยมีพอร์ต 10 GbE SFP+ จำนวน 48 พอร์ต และมีพอร์ต 40 GbE QSFP+ อีก 4 พอร์ต รวมแล้วมี Switching Capacity สูงถึง 1,280 Gbps ทั้งในการทำงานแบบ Layer 2 และ Layer 3 สำหรับตอบสนอง Data Center ยุคใหม่ ที่ Core Switch ประสิทธิภาพสูงสำหรับงานองค์กร และ Data Center Switch สำหรับ Virtualization ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่เทอะทะอีกต่อไป Read more

Supermicro ส่ง Twin Servers รุกตลาด Next Generation Data Center

ซูเปอร์ไมโคร (Supermicro) รุกตลาด Data Center โดยนำเสนอโซลูชั่นส์ Twin Servers ซึ่งเป็น Server พิเศษสำหรับตลาด ISP โดยเฉพาะ โดยมีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถติดตั้ง Server แบบ Hot Swap ที่มีหน่วยประมวลผลจาก Intel หรือ AMD 2 ชุด, หน่วยความจำ 192GB พร้อมเชื่อมต่อ Storage ภายนอกได้ ทั้งหมด 4 Server ภายในพื้นที่เพียง 2U ทำให้บนพื้นที่ 42U Rack สามารถติดตั้งระบบ Server ประสิทธิภาพสูงได้มากถึง 84 ชุด เพื่อสนับสนุนระบบ Virtualization อย่างเต็มตัว, ประหยัดพื้นที่บน Rack, ลดความร้อนใน Data Center และประหยัดพลังงานไฟฟ้า Read more

Next Generation Data Center Switching and Routing

Solution Brief

ในปัจจุบันนี้ ความต้องการระบบ Switching และ Routing ประสิทธิภาพสูงเพื่อรองรับการใช้งาน Application ที่หลากหลายบน Data Center ไม่ว่าจะเป็น iSCSI, NAS (Network Attached Storage), FCoE (Fibre Channel over Ethernet), Disaster Recovery และ Virtualization ส่งผลให้ระบบเครือข่ายสำหรับ Data Center ต้องขยายขึ้นไปใช้ 10Gb Ethernet, 40 Gb Ethernet จนถึง 100Gb Ethernet  ให้ครอบคลุมต่อความต้องการที่หลายนี้ เพื่อความคล่องตัวของธุรกิจนั่นเอง

Read more