แนะนำระบบจัดเก็บไฟล์ออนไลน์ทรงประสิทธิภาพ Neatbox จาก Wavify

 

การทำงานในทุกวันนี้จำเป็นต้องมีการจัดการและการนำข้อมูลไปใช้งาน ขณะที่ทำงานนั้นก็มีข้อมูลเพิ่มมากขึ้นไปทุกวัน การที่มีระบบจัดเก็บไฟล์ที่ดีและมีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญในการทำงานอย่างมาก

หากท่านคุ้นชินกับการทำงานในระบบคอมพิวเตอร์ คงเคยประสบปัญหาการทำงานในลักษณะของข้อมูลที่กระจัดกระจาย หรือการแบ่งปันข้อมูลให้แก่เพื่อนร่วมงานที่มีความยุ่งยาก การจะส่งไฟล์ขนาดใหญ่ให้คนภายนอกองค์กรผ่านทางอีเมล์นั้นก็ทำได้ไม่ง่ายนัก

ระบบจัดเก็บไฟล์ออนไลน์ Neatbox จึงมาเติมเต็มการทำงานในเรื่องการจัดเก็บไฟล์ออนไลน์ ซึ่งมาพร้อมกับความสามารถในการแชร์ไฟล์ 2 แบบด้วยกันคือแชร์ให้คนในระบบหรือแชร์ให้บุคคลอื่นๆ ทั่วไป

มาดูการแชร์ไฟล์หรือโฟลเดอร์ให้กับคนทั่วไปกันก่อน โดยเราสามารถแบ่งปันข้อมูลที่มีให้คนอื่นได้ผ่านทาง URL Link ซึ่งทุกคนที่มีลิงค์นี้จะสามารถเข้าถึงไฟล์นั้นได้ตลอดเวลา แต่หากไม่ต้องการเปิดเป็น public file ก็สามารถเพิ่มความ security โดยสามารถสร้างรหัสผ่าน สำหรับการเข้าถึงไฟล์ หรือจะตั้งวันหมดอายุของ Link นี้เพื่อจำกัดเวลาการเข้าถึงไฟล์ได้อีกด้วย

 

ส่วนประกอบต่างๆ ของหน้า Public Link

  1. เปิด/ปิดการใช้งาน public link
  2. URL public link
  3. สร้าง public link ใหม่
  4. คัดลอก public link
  5. เปิด/ปิด สิทธิ์การแสดงความคิดเห็นไฟล์ใน public link
  6. เปิด/ปิด สิทธิ์การดาวน์โหลดไฟล์จาก public link
  7. ตั้งรหัสผ่านในการเข้าถึงไฟล์ใน public link
  8. ตั้งค่าวันหมดอายุของ public link

ซึ่ง Neatbox ยังมีหน้า My links ที่รวมรวมทุกไฟล์ที่เราเคยสร้าง Public link นี้ไว้เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาไฟล์อีกด้วย

Neatbox ช่วยให้การแบ่งปันข้อมูลให้กับผู้อื่นทำได้ง่ายขึ้น เพีงแค่ส่ง url link ไปให้เท่านั้น
ส่วนคราวหน้าจะมาพบกับ feature ของ Neatbox อื่นๆที่น่าสนใจได้อีกที่นี่ ได้โปรดติดตาม

หากสนใจทดลองใช้หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ info@throughwave.co.th

เกี่ยวกับ Throughwave Thailand

Throughwave Thailand เป็นตัวแทนจำหน่าย (Distributor) สำหรับผลิตภัณฑ์ Enterprise IT ครบวงจรทั้ง Server, Storage, Network และ Security พร้อมโซลูชัน VMware และ Microsoft ที่มีลูกค้าเป็นองค์กรชั้นนำระดับหลายหมื่นผู้ใช้งานมากมาย โดยทีมงาน Throughwave Thailand ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าจากทีมงาน Engineer มากประสบการณ์ ที่คอยสนับสนุนการใช้งานของลูกค้าตลอด 24×7 ร่วมกับ Partner ต่างๆ ทั่วประเทศไทยนั่นเอง https://www.throughwave.co.th

สวัสดีปีใหม่ 2018 แด่พาร์ทเนอร์และลูกค้าทุกท่าน

Supermicro Day 2017 by Throughwave

Throughwave เปลี่ยนโลโก้ใหม่ เปลี่ยนโฉมแบรนด์ให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น

 

กว่า 10  ปีที่ผ่านมา ทรูเวฟมุ่งมั่นพัฒนาในการจัดหาสินค้าและบริการเพื่อลูกค้าและคู่ค้ามาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ทำให้รูปแบบของ product และ service ของเราเปลี่ยนไป เราจึงมีการปรับปรุงองค์กรให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดีและตรงจุดมากขึ้น

 

ทรูเวฟนอกจากจะปรับปรุงองค์กรให้ทันสมัยแล้ว เรายังพัฒนาแบรนด์เพื่อสื่อสารกับลูกค้าได้ลึกซึ้งมากขึ้น จากเดิมที่มีตัวแทนเป็นสัญลักษณ์รูปคลื่นทะทุทะลวงทุกการสื่อสาร โดยเปลี่ยนโลโก้เป็นรูปคลื่นวงกลมที่มีสีส้มเพิ่มเข้ามา เพื่อเน้นความกระฉับกระเฉง สร้างสรรค์ และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อแสดงถึงความรู้สึกที่มุ่งมั่น ชัดเจน ทันสมัยอยู่เสมอ

 

บริษัททรูเวฟจะเริ่มใช้โลโก้ใหม่อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 เมษายน 2560 เป็นต้นไป

 

ทรูเวฟขอขอบคุณลูกค้าและคู่ค้าทุกท่านที่ไว้วางใจเลือกใช้บริการของเราเสมอมา และเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะพึงพอใจและให้ความไว้วางใจให้การสนับสนุนที่ดีเช่นนี้ต่อไป

 

– บริษัททรูเวฟ (ประเทศไทย) จำกัด –

เจาะลึกเทคโนโลยี Storage Virtualization สำหรับ Cloud Application (ตอนที่ 1)

ในเวลานี้ คำว่า Cloud ได้กลายมาเป็นหนึ่งในคำมาตรฐานสำหรับวงการไอทีบ้านเราไปแล้ว วันนี้เราจะมาดูกันครับ ว่าคุณสมบัติของ Storage ที่เหมาะสมจะนำมาใช้ในระบบ Cloud Application ต่างๆ จะมีอะไรกันบ้าง

หัวใจของคำว่า Cloud

คำว่า Cloud หรือที่บางครั้งมักจะถูกเรียกเป็นภาษาไทยว่า กลุ่มเมฆ นั้น จริงๆ แล้วไม่ใช่คำที่เกิดมาจากทาง Technology แต่เกิดมาจากการตลาดเสียมากกว่า โดยในความหมายรวมๆ นั้น ไม่ว่าจะนำคำว่า Cloud ไปใช้กับอะไรก็ตาม มักจะหมายถึง ”การที่เทคโนโลยีนั้นๆ สามารถเพิ่มขยายได้แบบทันทีและง่ายดาย เพื่อรองรับต่อการปริมาณความต้องการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น” ยกตัวอย่างเช่น Cloud Application ก็จะหมายถึง “Application ที่สามารถขยายระบบเพื่อรองรับปริมาณผู้ใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น” ดังนั้นเราจึงสามารถกล่าวได้ว่า หัวใจของคำว่า Cloud ก็คือ “มีความสามารถในการขยายได้อย่างง่ายดาย” นั่นเอง

Storage สำหรับ Cloud Application

เมื่อเรารู้แล้วว่าหัวใจของคำว่า Cloud คืออะไร และ Cloud Application คืออะไร คราวนี้เรามาลองดูกันบ้าง ว่าในเทคโนโลยีทางด้านการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Storage หรือ Database ก็ตาม จะมีทางเลือกไหนที่สามารถตอบโจทย์ของคำว่า Cloud ได้บ้าง

1. Scale-Up and Scale-Out SAN Storage

สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ SAN Storage เป็นฐานสำหรับระบบงานของตัวเอง SAN Storage นั้นๆ ควรจะสนับสนุนการขยายพื้นที่และประสิทธิภาพได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสมกับค่าใช้จ่าย และความต้องการของระบบในเวลานั้นๆ โดยในการใช้งาน SAN Storage นั้น คีย์เวิร์ดหลักๆ ที่มักจะพบก็จะหนีไม่พ้นการขยายแบบ Scale Up และ Scale Out นั่นเอง

Scale Up: แนวคิดของการขยายแบบ Scale Up คือการขยายระบบ Storage เดิมที่มีอยู่ผ่าน Expansion Port ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Fibre Channel 4Gbps หรือ SAS2 6Gbps โดยวัตถุประสงค์หลักๆ คือการเพิ่มขยายพื้นที่เป็นหลัก ไม่ใช่การแก้ปัญหาเรื่องคอขวดของระบบ หรือปัญหาทงด้านประสิทธิภาพ ดังนั้นข้อดีของการขยายระบบ Storage แบบ Scale Up คือสามารถเพิ่มพื้นที่ของระบบได้ ในงบประมาณที่ไม่สูงนั่นเอง
Scale Out: แนวคิดของการขยายแบบ Scale Out คือการขยายระบบ Storage ในระดับ Logical โดยการเพิ่ม Storage Controller ให้ทำงานร่วมกันผ่าน SAN Networking ซึ่งจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปจากการขยายแบบ Scale Up คือการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ Storage นั่นเอง เนื่องจากการขยายระบบแบบ Scale Out นี้ จะทำให้ระบบ Storage ของเรามี Host Interface สำหรับเชื่อมต่อกับเครื่อง Server มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มขนาดของ Cache ในระบบให้มากขึ้นอีกด้วย แต่การขยายระบบแบบ Scale Out นี้จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพราะจริงๆ แล้วมันคือการลงทุนซื้อ Storage Hardware ใหม่หมดอีกชุดนั่นเอง

สำหรับข้อเสียของการใช้ SAN Storage สำหรับระบบงานแบบ Cloud ก็คือ SAN Storage ไม่สามารถ Share File ระหว่างหลายๆ Server เข้าด้วยกันได้ ซึ่งเราอาจจะต้องพึ่งพาความสามารถของ File System ต่างๆ ในการทำหน้าที่นี้ และทำให้การติดตั้งระบบมีความยุ่งยากมากขึ้น หรือต้องยึดติดกับบางแบรนด์มากขึ้นนั่นเอง

2. Parallel NAS Storage

สำหรับผู้ที่ต้องการความสามารถในการ Share File ระหว่างหลายๆ Server พร้อมๆ กัน ซึ่ง SAN Storage ไม่สามารถทำได้ ทางเลือกที่ดีสำหรับกรณีนี้คือการหนีมาใช้ NAS Storage นั่นเอง แต่ NAS Storage ทั่วๆ ไปที่เราใช้กันนั้น จริงๆ แล้วไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับระบบงานระดับ Cloud เลย เนื่องจาก NAS มักจะมีปัญหาทางด้านประสิทธิภาพ และเกิดคอขวดของระบบได้ง่ายมาก ดังนั้น Parallel NAS Storage จึงได้เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานี้ และตอบโจทย์ของ Cloud Application อย่างเต็มตัว

สิ่งที่ Parallel NAS Storage ทำนั้น มีแนวคิดคล้ายๆ กับการทำงานของ Bit Torrent คือให้ NAS Storage หลายๆ ชุด ช่วยกันส่งข้อมูลมาให้ผู้ใช้งานในลักษณะ Parallel เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด, ได้ปริมาณ Cache สูงสุด, ได้ Throughput สูงสุด และได้ Redundancy Level ที่สูงสุดนั่นเอง โดย Parallel NAS Storage นี้ มักจะถูกสร้างมาให้เป็น Object-based Storage ด้วย
ในการลงทุนกับ NAS ประเภทนี้ ในระยะเริ่มต้นอาจจะถือว่ามีราคาค่อนข้างสูง แต่เมื่อเทียบค่าใช้จ่ายและความง่ายในภาพรวม ตั้งแต่เรื่องการติดตั้ง การดูแลระบบ และความง่ายในการใช้งานแล้ว ถือว่าเป็น Storage ที่เหมาะสมกับ Cloud Application ที่ต้องการ Server หลักพันจนถึงหลักหมื่นเครื่องได้เลย

3. NoSQL

สำหรับเทคโนโลยี NoSQL ที่กำลังมาแรงมากในช่วงนี้ จริงๆ แล้วก็จัดได้ว่าน่าจะได้กลายเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานในการ Implement ระบบขนาดใหญ่ได้อย่างไม่ยากนัก โดย NoSQL เองเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาคอขวดของระบบ Database และมีความสามารถในการรองรับงานเฉพาะทางที่สูงกว่า SQL มาก โดยทั่วๆ ไปแล้ว NoSQL เกือบทุกตัวจะสามารถทำ Replication และการทำ Sharding ได้ เพื่อให้เราสามารถสร้างระบบฐานข้อมูลแบบ Distributed และรองรับการ Scale Out ในระดับของ Application ฐานข้อมูลได้อย่างไม่ยากเย็นนัก

ข้อดีของ NoSQL ก็คือเรื่องของประสิทธิภาพในการรับโหลดจากผู้ใช้งานจำนวนมากตั้งแต่หลายหมื่นไปจนถึงหลายล้านคนพร้อมๆ กัน ซึ่งบริการบน Cloud ใหญ่ๆ เกือบทั้งหมดที่เราใช้ก็มักจะเป็น NoSQL ทั้งสิ้น แต่ข้อเสียหลักๆ ก็คงเป็นเรื่องของการรับประกันและสนับสนุนเทคโนโลยีเหล่านี้ในบ้านเรานั่นเอง เนื่องจากยังไม่มีเจ้าไหนที่เข้ามาให้บริการในลักษณะ Commercial มากนัก และผู้ให้บริการ Cloud ใหญ่ๆ ก็มักจะพัฒนาระบบ NoSQL ของตัวเองขึ้นมาใช้กันเป็นส่วนมาก

จริงๆ แล้วถ้าพูดถึงเรื่องของคำว่า Cloud กับคำว่า Storage นั้น ยังมีอีกหลายแง่มุมให้เราพิจารณากันอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Cloud Storage, Cloud Tiering และอื่นๆ อีกมากมาย ก็คงต้องขอหยิบยกไว้พูดกันในคราวหน้า สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลากันไปก่อน สวัสดีครับ

5 เทรนด์ในอนาคตของ Next Generation Data Center

สวัสดีครับ สำหรับครั้งนี้เราจะมาดูเทรนด์ในอนาคตกันว่า Data Center ยุคถัดไป หรือที่เราเรียกกันว่า Next Generation Data Center นั้นจะเป็นอย่างไร ลองดูได้ใน 5 ข้อต่อไปนี้ครับ

1. ทุกอย่างมีขนาดเล็กลง!!!

ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เคยมีขนาดใหญ่ที่สุดอย่าง Core Switch ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 4U จนไปถึงขนาดใหญ่กว่า 20U จะสามารถมีขนาดลดลงมาเหลือ 1U – 2U ได้ในประสิทธิภาพระดับที่สูงกว่าเดิม หรือแม้กระทั่ง Server เองจากเดิมที่เคยต้องใช้ Blade Server ถึงเกือบ 10U เพื่อติดตั้ง Server 16 ชุด ในเวลานี้ขนาดได้ลดลงมาเหลือเพียง 3U แล้ว ซึ่งด้วยปริมาณเท่านี้จากเดิมที่เรามี Rack ขนาด 42U เราอาจจะสามารถมี Core Switch 2 ชุด ซึ่งเชื่อมต่อกับ Physical Server จำนวนกว่า 192 ชุดด้วยความเร็วระดับ 10Gbps – 20Gbps ได้ ซึ่งหลังจากทำ Virtualization แล้ว เราอาจจะมี Server ได้ถึงหลายร้อย หรือหลายพันเครื่องได้เลยทีเดียว! ดังนั้นใน Data Center ปัจจุบันที่มีกันอยู่นี้ อาจจะสามารถยุบรวมเหลือเพียง 1-2 Rack ก็เป็นได้

2. Redundant แบบ Virtual!!!

ไม่ใช่มีแต่ VMware หรือ Citrix เท่านั้น นับจากนี้ไป Core Switch เองก็เริ่มมีแนวทางในการทำ Redundant แบบระดับ Virtual แล้ว ทำให้เราสามารถวาง Core Switch แยกห่างออกจากกันในเชิง Physical และช่วยกันทำงานได้ รวมถึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโดยการเติม Core Switch เข้าไปในระบบได้อย่างง่ายๆ ทำให้ถัดจากนี้ไป การออกแบบ Core Switch อาจไม่ใช่การรวมศูนย์ แต่เป็นการกระจายตัว (Distributed Core Switch) ซึ่งอาจถึงขั้นนำ Core Switch ไปกระจายเป็น Top-of-Rack Switch แทน เพื่อลดความซับซ้อนในการ Wiring ลง และทำให้เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบได้ตามความต้องการ (On Demand Scalability) อีกทั้งยังทำให้สามารถใช้ความเร็วในระดับ 10/40/100Gbps ไปยัง Server หรือ Storage โดยตรงได้อีกด้วย!

3. Cloud ในระดับ Hardware!!!

ในเวลานี้เราคงจะได้ยินคำว่า Cloud มาคู่กับบริการต่างๆ มากมาย แต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งผู้ผลิต Server, Storage และ Switch ต่างนำเสนอระบบ Hardware ที่มีแนวคิดในการทำงานแบบ Cloud เพื่อรองรับ Data Center ในระดับองค์กร ไปจนถึงผู้ให้บริการ Cloud อีกด้วย โดยแนวคิดนี้จะทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถเติม Server, Storage และ Switch เข้าไปในระบบได้โดยไม่ต้องทำการตั้งค่าต่างๆ ให้ยุ่งยาก หรือใช้ Hardware ยี่ห้อเดียวกันอีกต่อไป อุปกรณ์เหล่านั้นจะทำการพูดคุยกับอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบ และลงทะเบียนตัวเองเข้าไปโดยอัตโนมัติ จากนั้นระบบจะทำการตั้งค่าตัวเองขึ้นมาทำงานร่วมกับระบบเดิมที่มีอยู่ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงมีการตั้งค่าในการทำ Redundant ให้โดยอัตโนมัติอีกด้วย ซึ่งกรณีนี้เคยมีการติดตั้งจริงกันมาแล้ว โดยสามารถเพิ่ม Cloud Switch หลายพันชุดเข้าไปใน Data Center เดิมได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น!!!

4. Switch ชุดเดียว ให้บริการได้หลายอย่าง!!!


ไม่ใช่แค่ Next Generation Firewall เท่านั้นที่ทำได้ทุกอย่างครอบจักรวาล สำหรับ Data Center เอง Switch จะกลายเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการต่างๆ แทนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการยืนยันตัวตนแบบ Single Sign-On ร่วมกับบริการ Cloud ต่างๆ, การเข้ารหัส, การปรับเปลี่ยน Network Policy แบบอัตโนมัติตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น, การติดตาม Application Performance และอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึงการที่ Switch ได้รวมเอาความสามารถในการทำตัวเป็น Ethernet Switch และ SAN Switch พร้อมๆ กัน ทำให้ต่อไปนี้การเลือกหาฮาร์ดแวร์มารองรับงานต่างๆ คงจะทำได้ครบสมบูรณ์ได้ด้วย Switch เพียงชุดเดียวก็เป็นได้

5. Standalone, Centralized, Physicalization ยังไม่ตาย

ถึงแม้สี่ข้อที่ผ่านมาจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ล้ำสมัย จนอาจจะคิดกันว่าเทคโนโลยีแบบเก่าคงจะถูกกลืนหายไปอย่างรวดเร็ว แต่ในความเป็นจริงแล้วบางระบบงานที่ต้องการประสิทธิภาพสูงๆ และไม่ต้องการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกับใครเลย เพื่อรับประกันคุณภาพของการให้บริการ หรือให้บริการผู้ใช้งานเพียงกลุ่มเล็กๆ ก็จะยังคงมีอยู่ต่อไปอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอุปกรณ์เฉพาะทางต่างๆ ที่ต้องการนำประสิทธิภาพระดับสูงสุดของ Hardware มาใช้ ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายที่สุดก็คือการเชื่อมต่อ Server กับ Storage แบบ Direct Attach Storage (DAS) นี่เอง และในหลายครั้ง การรวมกันของระบบง่ายๆ เหล่านี้ ก็อาจจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของ Cloud ได้เช่นกัน

Datacenter ระดับโลก เค้าใช้อุปกรณ์อะไรกัน ?

เคยสงสัยกันไหมครับว่า พวก Datacenter ระดับโลกเค้าใช้อุปกรณ์อะไร ใช้ Server, Storage และ Switch ยี่ห้อไหนกัน ?
วันนี้ทรูเวฟจะพาคุณผู้อ่านลัดเลาะไปดูตาม Datacenter ใหญ่ๆ โดยแยกตามอุปกรณ์ พร้อมแล้วตามไปดูกันเลยครับ

Supermicro

Supermicro เป็นผู้ผลิต Servers รายใหญ่จากประเทศอเมริกา ก่อตั้งมาได้ประมาณ 17 ปี ที่สำนักงานใหญ่มีโรงงานประมาณ 7 โรงงานตั้งอยูุ่ที่ Silicon Valley ชื่อของแบรนด์ Supermicro ในไทย อาจยังไม่คุ้นหูเท่าใดนัก แต่ผู้อ่านทราบหรือไม่ครับว่า เจ้า Server ยี่ห้อ Supermicro นี้ กินส่วนแบ่งการตลาดในประเทศอเมริกามากกว่า 60% ขายได้มากกว่ายี่ห้อดังๆ ทุกยี่ห้อรวมกัน โดยลูกค้าของ Supermicro มีอยู่ในหลายวงการ ตัวอย่างเช่น Search Engine Provider รายยักษ์ใหญ่ ก็ใช้ Supermicro กว่า 20,000 เครื่อง เป็นเครื่องหลักโดยวางไว้ที่ Core Datacenter ในการให้บริการกับผู้ใช้งานทั่วโลก หรือตาม Lab ดังๆ โรงงานใหญ่ๆ ก็ใช้ Supermicro กว่าหมื่นเครื่องเช่นเดียวกัน

จุดเด่นของ Supermicro
Supermicro ขึ้นชื่อในเรื่องของประสิทธิภาพการทำงานที่รวดเร็ว แข็งแกร่ง รองรับการทำงานหนักติดต่อกันได้อย่างสบาย ด้วยเทคโนโลยีเฉพาะตัว โดยเมื่อเร็วๆนี้ได้ส่ง Twin Servers รุกตลาด Next Generation Data Center สำหรับลูกค้ากลุ่ม ISP โดยมีคุณสมบัติพิเศษสามารถติดตั้ง Server แบบ Hot Swap ที่มีหน่วยประมวลผลจาก Intel หรือ AMD 2 ชุด, หน่วยความจำ 192GB พร้อมเชื่อมต่อ Storage ภายนอกได้ ทั้งหมด 4 Server ภายในพื้นที่เพียง 2U สนับสนุนระบบ Virtualization อย่างเต็มตัว และล่าสุด Supermicro เปิดตัวโซลูชั่นส์ใหม่ที่มีชื่อว่า “Micro Cloud SuperServers” เอาใจลูกค้ากลุ่ม Web Hosting และ SME โดยเฉพาะ ด้วยราคาที่จัดอยู่ในเกณฑ์ย่อมเยา และขนาดเครื่องเพียง 3U แต่สามารถใส่ Server ได้ถึง 8 Servers ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ภายในแบบ SATA3  ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ด้วยความเร็ว 6 Gbps ได้ 2 ชุดต่อ 1 Server

นอกเหนือจากเรื่องประสิทธิภาพที่แข็งแกร่ง, มี Reference Sites ระดับ Datacenter ใหญ่ๆของโลกแล้ว Supermicro มีบริการ Services ในระดับ 5×8, 7×24 และ Spare Part พร้อมให้บริการทั่วประเทศไทย

Force10

Switch Force10 เป็น Switch Backbone ให้กับ Datecenter ระดับโลกมากมาย อาทิเช่น สำนักวิจัย CERN ใช้ Switch Force10 10 GbE กว่าร้อยเครื่อง ให้บริการนักวิทยาศาตร์ใช้งานทำวิจัยกว่า 7,000 คน ส่งข้อมูลถึง 15 Petabytes/ปี หรือ Facebook ที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้ ก็ใช้ Switch Force10 เป็น Core switch รองรับผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 500 ล้านคน โดยทาง Facebook ได้กล่าวไว้ว่า “The Force10 gear is pretty much bullet proof …the boxes just run” ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า Switch Force10 แค่วางตั้งทิ้งไว้ ก็รองรับปริมาณการใช้งานมหาศาล และมีความเสถียรเป็นที่สุด

นอกจาก CERN และ Facebook แล้วยังมี Datacenter ระดับโลกอื่นๆที่เลือกใช้ Force10 เป็น Core Switch อีก เช่น Yahoo, Apple, Adobe, American Express, Bloomberg, Baidu, Youtube, NASA ฯลฯ

จุดเด่นของ Force10
ถ้าดูจาก Reference Sites ด้านบนแล้ว ถือเป็นการรับประกันคุณภาพและประสิทธิภาพของ Force10 ได้มากกว่าคำพูดใดๆ Force10 ขึ้นชื่อเรื่องของความนิ่ง ความเสถียร ทนทานต่อทุกสภาพการใช้งาน และรองรับ Throughput ปริมาณมหาศาล ตัวอย่างเช่น Force10 รุ่น S4810 มีพอร์ต 10 GbE SFP+ จำนวน 48 พอร์ต และมีพอร์ต 40 GbE QSFP+ อีก 4 พอร์ต รวมแล้วมี Switching Capacity สูงถึง 1,280 Gbps ในขนาดเพียง 1U เรียกได้ว่าเป็นรุ่นใหม่ที่ทำเอาวงการ Switch สั่นสะเทือน เนื่องจาก S4810 ทำงานเป็น Core Switch ได้สบายๆ ในขนาดแค่ 1U และเมื่อนำ Switch S4810 เพียง 2 ชุด ทำงานร่วมกันแบบ Redundant โดยใช้พื้นที่เพียง 2U ก็จะทำให้องค์กรของคุณผู้อ่านสนับสนุนระบบเครือข่ายความเร็ว 10 GbE และ 40 GbE ได้เป็นแห่งแรกๆ ของภูมิภาค และเป็นการวางรากฐานที่ดีสำหรับ Data Center ในอนาคต (ปัจจุบันของ S4810 ของเริ่มขาดตลาด ถ้าจะสั่งต้องรอนิดนึงนะครับ)

และล่าสุด Force10 พึ่งเปิดตัว Series Z9000 40GbE Core Switch ซึ่งเป็น Core Switch ขนาด 2U ติดตั้งพร้อมพอร์ต 40GbE QSFP+ จำนวน 32 พอร์ต หรือใช้งานเป็นพอร์ต 10GbE SFP+ ได้สูงถึง 128 พอร์ต โดยมี Switching Capacity สูงถึง 2.5 Tbps และรองรับทั้งการทำงานแบบ Layer 2 และ Layer 3 พร้อมคุณสมบัติ Plug-n-Play และ VMware Awareness เพื่อรองรับการทำหน้าที่เป็น Cloud Computing Cores และ High Performance Computing Cores สำหรับ 2,000 – 6,000 Physical Servers และ Storages

Infortrend

Infortrend ผู้ผลิต Storage รายใหญ่ของโลก ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1993 จนถึงปัจจุบันนี้ได้ติดตั้งอุปกรณ์ Storage ไปแล้วมากกว่า 3,000,000 ยูนิต โดยมีกลุ่มลูกค้าหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่ม Enterprise, Education, Broadcast & Video Streaming ลูกค้ารายใหญ่ๆ เช่น BBC, Walt Disney, MTV, Warners Brother เป็นต้น ในประเทศไทย Storage Infortrend ก็อยู่เบื้องหลังงานถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ผ่านมา รวมถึงตามมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศก็ใช้ Storage จาก Infortrend

จุดเด่นของ Infortrend
สำหรับ Datacenter ขนาดใหญ่จะใช้ Storage แบบ Virtulization คือสามารถขยายระบบได้มากๆ และรองรับการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น ตัวอย่างเช่น Infortrend ESVA F60 Fibre Channel Storage หรือ Enterprise Scalable Virtualized Architecture Storage รุ่นล่าสุดจาก Infortrend มีสมรรถนะสูงด้วย Throughput กว่า 180,488.53 IOPS อีกทั้งยังมีความสามารถในการขยายต่อระบบทั้งแบบ Scale Up ร่วมกับ JBOD และ Scale Out เพื่อเพิ่มทั้งประสิทธิภาพด้วยการทำ Load Balancing และเพิ่มพื้นที่ของข้อมูลไปพร้อมๆ กัน โดย Infortrend ESVA F60 รองรับทั้งการทำงานร่วมกับ Hard Drive แบบ SAS, SATA และ Solid State Drive ได้สูงสุดถึง 1,344 Drives ในระบบเดียว โดยมี Host Interface ความเร็ว 8Gbps ด้วยกันถึง 8 Ports เปรียบเหมือนแถม San Switch มาให้ในตัว

Infortrend ยังคงเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้าน Storage อย่างต่อเนื่องโดย Infortrend เป็นเจ้าแรกในตลาดในการใช้ Drive Connectivity แบบ SAS2 และใช้ 8Gbps Fibre Channel เป็นเจ้าแรกในตลาด รวมถึงประกาศสนับสนุน 3TB Enterprise Hard Drives ใน Enterprise SAN Storage เป็นเจ้าแรกอีกด้วย